ภาพถ่ายจากการสำรวจแหล่งวัฒนธรรมและเก็บข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศเวียดนาม
กลุ่มภาพถ่ายจากการทำงานภาคสนามสำรวจศึกษาชนชาติไทในประเทศเวียดนาม ปี พ.ศ. 2542-2545
คนไทเมืองกว่า ปี 2542 ศึกษากลุ่มคนไทในตำบลมุนเซิน (เมืองกว่า) อำเภอกอนกวง (Con Cuong) จังหวัดเหง่อัน (Nghe An) ที่เดิมทีเคยเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นสิบสองจุไท มีคนไทและกลุ่มชาติพันธุ์อื่นอาศัยมาอย่างยาวนาน เมืองกว่ามีกลุ่มชาติพันธุ์ไทแถงและไทเมืองอยู่เป็นจำนวนมาก ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลพื้นฐานของเมืองกว่า...
ภาพถ่ายจากการสำรวจแหล่งวัฒนธรรมและเก็บข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศเมียนมา (พม่า)
กลุ่มภาพถ่ายจากการสำรวจและเก็บข้อมูลภาคสนามในรัฐฉาน รัฐคะฉิ่น และสถานที่ต่างๆ ในระหว่างการสำรวจประเทศพม่า ปี พ.ศ. 2540-2544
รัฐฉาน - ช่วงปี 2540-2542 สุมิตร ปิติพัฒน์ และเสมอชัย พูลสุวรรณ ได้เข้าไปศึกษาเชิงสำรวจชุมชนไทใหญ่ในรัฐฉาน ในเขตเมืองเมเมียว และนำเสนอภาพกว้างในด้านการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในชุมชนไทใหญ่เมืองยองห้วย...
ภาพถ่ายจากการสำรวจแหล่งวัฒนธรรมและเก็บข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศจีน
กลุ่มภาพถ่ายจากการสำรวจและเก็บข้อมูลภาคสนามในมณฑลยูนนาน มณฑลไหหลำ มณฑลกุ้ยโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน ปี พ.ศ. 2541-2548
ปี 2542-2543 สุมิตร ปิติพัฒน์ และเสมอชัย พูลสุวรรณ ได้เดินทางไปสำรวจคนไทและจ้วงในแถบตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลยูนนาน โดยเก็บข้อมูลครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ 2540 ต่อมาได้เข้าไปเก็บข้อมูลภาคสนามเพิ่มเติมในเดือนมกราคม 2542 ในครั้งนั้นได้เก็บข้อมูลในเขตปกครองตนเองของชนชาติจ้วงและแม้ว ...
ภาพถ่ายจากการสำรวจแหล่งวัฒนธรรมและเก็บข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย
ภาพถ่ายในกลุ่มประเทศไทย แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ
ภาพจากการสำรวจร่องรอยศิลปะและวัฒนธรรมที่แหล่งโบราณคดีภูพระบาท อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
ภาพจากการเก็บข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ต่างๆ ได้แก่ กะเหรี่ยงบ้านผาแตก ตำบลสบเปิง อำเภอแม่แตง...
ภาพถ่ายและจดหมายเหตุ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา: รองศาสตราจารย์สุมิตร ปิติพัฒน์ (19 พฤษภาคม 2486-11 สิงหาคม 2567)
รองศาสตราจารย์สุมิตร ปิติพัฒน์ อดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2531-2534) และ อดีตผู้อำนวยการสถาบันไทยคคีศึกษา (พ.ศ. 2536-2542)
รองศาสตราจารย์สุมิตรจบการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาสังคมศาสตร์ จาก Michigan State University และสาขามานุษยวิทยา จาก Harvard University สหรัฐอเมริกา ท่านเป็นบุคลากรที่มีบทบาทและคุณูประการอย่างสำคัญต่อคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์...
Panel 5.2: รักษา พัฒนา และสร้างสรรค์ สู่ความยั่งยืนของมรดกวัฒนธรรมและพิพิธภัณฑ์
การรักษาเรือน ด้วยภูมิปัญญาเชิงช่างท้องถิ่น: พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่เก็บรวบรวมเรือนล้านนาโบราณในแถบลุ่มน้ำปิง ให้ความรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม การอยู่อาศัย และลักษณะทางสถาปัตยกรรมล้านนา ผ่านกิจกรรม นิทรรศการ การให้ความรู้ผ่านช่องทางสื่อวารสาร และสี่อออนไลน์ เรือนที่จัดแสดงเป็นเรือนที่เคยมีผู้อาศัยอยู่จริง แล้วได้รื้อย้าย และนำมาอนุรักษ์ไว้ตามรูปแบบเดิม จึงเป็นเรือนตัวอย่างในการศึกษาลักษณะทางสถาปัตยกรรมล้านนาได้เป็นอย่างดี ตลอดระยะเวลาเกือบ 30 ปี ที่ย้ายเรือนจากที่ตั้งเดิมนำมาตั้งไว้ในพิพิธภัณฑ์ มีการบำรุงซ่อมแซมอย่างต่อเนื่อง ด้วยลักษณะของเรือนโบราณที่มีอายุ...
Panel 5.1: เศรษฐกิจชุมชน และความทรงจำร่วม ในมรดกวัฒนธรรมศึกษา
แนวคิดการปรับพื้นที่ตลาดฟื้นอดีตบางมูลนากจากสิ่งที่เหลืออยู่ในชุมชนกับ
การรื้อฟื้นความทรงจำร่วมของชาวบางมูลนาก
บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การสร้างความทรงจำร่วมของชาวบางมูลนากจากสิ่งที่เหลืออยู่ในชุมชน โดยวิเคราะห์จากแนวคิดการปรับพื้นที่ตลาดฟื้นอดีตบางมูลนากที่มีการเก็บรักษาสิ่งที่เหลืออยู่ในชุมชนแล้วนำมาจัดแสดง ตกแต่งสถานที่เพื่อธำรงเรื่องราวเก่าแก่ของชุมชนอันนับเป็นมรดกทางสังคมของชุมชนที่สามารถนำมาสะท้อนตัวตนและบอกเล่าเรื่องราวชุมชนจนกลายเป็นความทรงจำร่วมของคนในชุมชนบางมูลนากตลาดฟื้นอดีตบางมูลนาก คือชื่อที่ถูกตั้งขึ้นโดยศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์เกษม วัฒนชัย (องคมนตรี) เป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากแนวคิดการปรับพื้นที่ย่านการค้าเก่าอายุกว่าร้อยปีบริเวณริมแม่น้ำน่านของชุมชนบางมูลนาก ภายหลังที่ถูกปล่อยทิ้งร้างไปกว่า 30 ปี ให้ฟื้นคืนกลับมาและเป็นพื้นที่ของการสร้างความทรงจำร่วมของชุมชน การปรับพื้นที่โดยรอบตลาดฟื้นอดีตบางมูลนาก ดำเนินการภายใต้ความร่วมมือระหว่างมูลนิธิแก้วคุ้มครอง ชุมชนบางมูลนาก และหน่วยงานต่าง ๆ ในอำเภอบางมูลนาก เริ่มต้นจากการบูรณะศาลเจ้าพ่อแก้วหลังเดิม ซึ่งเป็นสถานที่ประดิษฐานของเทพเจ้าประจำชุมชน ถัดมาคือการพัฒนาร้านค้าเก่าบริเวณโดยรอบ เพื่อสร้างบรรยากาศของตลาดที่สะท้อนวิถีชีวิตของผู้คนในอดีต การจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ชุมชนและศูนย์เรียนรู้ชุมชน โดยรวบรวมสิ่งของเหลืออยู่ในชุมชนอันเป็นวัตถุสิ่งของที่บ่งชี้ถึงความเจริญรุ่งเรืองของชุมชนบางมูลนากและสะท้อนตัวตนของชาวบางมูลนาก...
Panel 4.2: ส่องบทบาท สะท้อนอำนาจในพิพิธภัณฑ์
บทบาทของพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยในการเป็นพื้นที่เรียนรู้สำหรับคนพิการทางการเห็น
บทคัดย่อการเข้าถึงและการเรียนรู้ศิลปะร่วมสมัยสำหรับคนพิการทางการเห็นได้รับความสนใจมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยไม่เพียงเป็นพื้นที่แสดงศิลปะแต่ยังเป็นแหล่งเรียนรู้และสื่อสารความรู้ การสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงศิลปะสำหรับคนพิการทางการเห็นเป็นบทบาทสำคัญของพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย โดยการออกแบบนโยบายและกิจกรรม รวมถึงการวางแนวทางให้ศิลปินสร้างสรรค์ผลงานที่ให้ผู้มีความต้องการพิเศษสามารถเข้าถึงทรัพยากรและสื่อความรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรม จะนำไปสู่การสร้างความเท่าเทียมและการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น บทความนี้สำรวจและวิเคราะห์วิธีการที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยปรับตัวเพื่อเป็นพื้นที่เรียนรู้สำหรับ คนพิการทางการเห็น โดยมีกรณีศึกษาจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะโมริ (Mori Art Museum) ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นศูนย์กลางศิลปะร่วมสมัยของญี่ปุ่นและเอเชีย ออกแบบกิจกรรมเพื่อพัฒนาการเข้าถึงศิลปะร่วมสมัยสำหรับคนพิการทางการเห็นทั้งในรูปแบบออนไซต์และออนไลน์ และพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย MOCA มีความโดดเด่นเป็นพิพิธภัณฑ์ที่สะสมจัดแสดงศิลปะร่วมสมัยอันทรงคุณค่าของไทยบทความนี้นำเสนอแนวทางและวิธีการที่พิพิธภัณฑ์เหล่านี้ใช้ในการสร้างการเข้าถึงและการเรียนรู้ที่ เท่าเทียมสำหรับคนพิการทางการเห็น ซึ่งสามารถเป็นแนวทางให้พิพิธภัณฑ์อื่นๆ นำไปปรับใช้ในการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้สำหรับคนพิการทางการเห็นในอนาคต คำสำคัญ พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย, คนพิการทางการเห็นผู้เขียนทักษิณา พิพิธกุลสังกัด: คณะศิลปกรรมศาสตร์...
Panel 4.1: สะสม สื่อสาร และสร้างความหมายวัตถุพิพิธภัณฑ์
ฟื้นชีวิตพิพิธภัณฑ์กับการแสวงหาการมีส่วนร่วมของสังคม กรณีศึกษา: พิพิธภัณฑ์พระอุบาลีมหาเถระ
วัดธรรมาราม พระนครศรีอยุธยา อนุสรณ์สถานประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์พุทธศาสนาไทย-ศรีลังกา
บทคัดย่อพิพิธภัณฑ์ในการรับรู้ของคนทั่วไป หมายถึง สถานที่จัดเก็บและแสดงสิ่งของนานาชนิด เพื่อให้ความรู้และความเพลิดเพลินแก่ผู้เข้าชม ช่วงเวลาศตวรรษที่ 21 สังคมไทยเกิดการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ในฐานะแหล่งเรียนรู้ที่ขยายขอบเขตการรับรู้เดิมคนในสังคม พิพิธภัณฑ์พระอุบาลีมหาเถระ วัดธรรมาราม ถูกก่อตั้งและเปิดให้บริการในวาระครบรอบ 260 ปีประดิษฐานสยามวงศ์ การส่งคณะสมณทูตจากกรุงศรีอยุธยาไปลังกาทวีป เมื่อ พ.ศ.2556 โดยวัดเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายค่าสาธารณูปโภค ค่าเจ้าหน้าที่นำชม นับตั้งแต่เปิด จนเมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19...
Panel 3: ผัสสะและจินตกรรมในพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์แห่งจินตภาพของงานดนตรีไทย:ผลสะท้อนทางภววิทยาและประวัติศาสตร์เพลงสยาม
จากเอกสารโน้ตเพลงชุด “โหมโรงเย็น” ภายหลัง พ.ศ. 2475
บทคัดย่อ
ผู้เขียนต้องนำเสนอบทความปริทัศน์ความคิด ที่ปรากฏใน "The Imaginary Museum of Musical Works" ของ Lydia Goehr ซึ่งออกเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี 1992 ซึ่งเป็นงานเขียนทางปรัชญาที่สนใจความสำคัญของการคิดเชิงหน้าที่และบทบาทของพิพิธภัณฑ์ในสังคมร่วมสมัย ซึ่งผู้เขียนได้พิจารณาภาวะเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ความคิดของเรื่องดังกล่าวผ่านมิติเชิงสุนทรียภาพและปรัชญาทางดนตรี จากบทบาทดั้งเดิมของพิพิธภัณฑ์ที่ปรากฏราวศตวรรษที่ 15 ในฐานะพื้นที่กายภาพสำหรับการจัดแสดงวัตถุสำคัญต่าง ๆ แนวคิดดังกล่าวมีความสำคัญเพราะเป็นส่วนกำหนดความหมายของวัตถุทางศิลปะทั่วไป...