ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังการประชุมวิชาการพิพิธภัณฑ์และมรดกวัฒนธรรม ครั้งที่ 2 (แบบออนไลน์)

243
views

พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังการประชุมวิชาการพิพิธภัณฑ์และมรดกวัฒนธรรม ครั้งที่ 2 (แบบออนไลน์)

โดยจะเปิดให้ลงทะเบียนรับฟัง Session 1 และ 2 ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป โปรดติดตามการลงทะเบียนใน Page facebook: พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

……………………………………………………………..

Session 1: Historic & Creative Cities

พฤหัสบดีที่ 2 มิ.ย.65 10.00-12.00 น.

กล่าวเปิด โดย ผศ.ดร.จันทนี เจริญศรี

คณบดี คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บทความ

การเคหะแห่งชาติ สิงคโปร์: พัฒนานิยม ความแน่นแฟ้น และมรดก

โดย ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ

การศึกษาคุณค่าเชิงอัตลักษณ์และความต้องการทางสังคมในการอนุรักษ์พัฒนาสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)

โดย ธิป ศรีสกุลไชยรัก

ย่านชุมชนเก่าในฐานะมรดกจังหวัด: ข้อจำกัดและโอกาสในการอนุรักษ์ภูมิทัศน์วัฒนธรรม

โดย ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์และปูรณ์ ขวัญสุวรรณ

ผู้ให้ความเห็น: ผศ.ดร.เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์

……………………………………………………………..

Session 2: Inclusive tourism

พฤหัสบดีที่ 2 มิ.ย.65

13.00-15.00 น.

กล่าวเปิด โดย ผศ.ดร.ณัฏฐพงศ์ จันทร์อยู่

คณบดี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความ

บ่อเหล็กลอง: เวียงเชียงเหล็ก ชุมชนและพิพิธภัณฑ์โลหกรรมเหล็กโบราณกับการท่องเที่ยวโดยชุมชนนาตุ้ม

โดย ภูเดช แสนสา

การจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณคดี: กรณีศึกษา แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตรและแหล่งเรือโบราณพนม – สุรินทร์

โดย พีรศักดิ์ กลับเกตุ

สำนึกถิ่นที่: การก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในย่านชุมชนเก่าตะกั่วป่า จังหวัดพังงา

โดย สกาวรัตน์ บุญวรรโณและพงษ์ทัช จิตวิบูลย์

การธำรงรักษามรดกวัฒนธรรมไทยพวน ณ มิวเซียม ปะพวน ที่ปากพลี จังหวัดนครนายก

โดย วีรานันท์ ดำรงสกุล

ผู้ให้ความเห็น: ผศ.อรอุมา เตพละกุล

……………………………………………………………..

Session 3: Museum interpretation

พฤหัสบดีที่ 9 มิ.ย.65

10.00-12.00 น.

กล่าวเปิด โดย รศ.ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ Director, International program in Architectural Heritage Management and Tourism คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทความ

ความเป็นอยู่ (being) ของวัตถุจัดแสดง ในหอจดหมายเหตุ (archive) บ้านศิลปิน มณเฑียร บุญมา (Montien Atelier)

โดย วรเทพ อรรคบุตร

มากกว่ากระดูก: Skeleton โครงร่างสร้างเรื่อง กับการก้าวข้ามความท้าทายในการสื่อสารวิทยาศาสตร์

โดย สุชาดา คำหาและชลวิทย์ ทองเจริญชัยกิจ

ความฉาบฉวยในโลกออนไลน์กับการกลายเป็นวัตถุทางศิลปะในหอจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ กรณีศึกษานิทรรศการ ASMR “WEIRD SENSATION FEELS GOOD”

โดย วริณาฐ พิทักษ์วงศ์วานและโกสุม โอมพรนุวัฒน์

พิพิธภัณฑ์อิสลามในพื้นที่ชายแดนใต้: จากอัตลักษณ์มลายูมุสลิมสู่มรดกแห่งวัฒนธรรม

โดย อิมรอน ซาเหาะ, ยาสมิน ซัตตาร์, และวสมน สาณะเสน

ผู้ให้ความเห็น: ผศ.ดร.วรรณพร เรียนแจ้ง

……………………………………………………………..

Session 4: Archaeological innovation & Conservation works

พฤหัสบดีที่ 9 มิ.ย.65

13.00-15.00 น.

กล่าวเปิด โดย รศ.ดร.สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง

หัวหน้าภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทความ

โบราณคดีเชิงโต้ตอบ: การสอดประสานเทคโนโลยีและความร่วมมือ

โดย ผุสดี รอดเจริญ, ภีร์ เวณุนันทน์, และบริสุทธิ์ บริพนธ์

ชุมชนเสมือนต้นทุนต่ำ : สังคมของอวทาร์ในแหล่งมรดกเสมือนจริง

โดย มนตรี ธรภัทรพรชัย

การอนุรักษ์เชิงป้องกันกับงานพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ในประเทศไทย: นิยามและความตระหนักรู้

โดย บุรินทร์ สิงโตอาจ

แนวทางการจัดเก็บและจัดแสดงวัตถุพิพิธภัณฑ์ประเภทเครื่องจักสานในประเทศไทย

โดย ปัฐยารัช ธรรมวงษา

ผู้ให้ความเห็น: ผศ.ดร.พจนก กาญจนจันทร

……………………………………………………………..

Session 5: Intangible Cultural Heritage

พุธที่ 15 มิ.ย. 65

10.00-12.00 น.

กล่าวเปิด โดย ผศ.ดร.กิตติกรณ์ นพอุดมพันธุ์

คณบดี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

บทความ

“สำรับอาหารภาคตะวันออก” ในฐานะมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม : ความกลมกล่อมของสังคมพหุวัฒนธรรมกับการสร้างตัวตนในสมรภูมิการท่องเที่ยวเชิงอาหารของไทย

โดย อภิลักษณ์ เกษมผลกูล

ความเป็นมาเกี่ยวกับปัญหาเกลืออีสานที่บดบังความเป็นมรดกทางวัฒนธรรม

โดย อมฤต หมวดทอง

เถียงนา คาเฟ่ รีสอร์ท : การเปลี่ยนแปลงความหมายของพื้นที่ชายขอบสู่การสร้างอัตลักษณ์ท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวในอีสาน

โดย จารุวรรณ ด้วงคำจันทร์

ผู้ให้ความเห็น: ผศ.สุดแดน วิสุทธิลักษณ์

……………………………………………………………..

Session 6: Dissonant Memories

พุธที่ 15 มิ.ย. 65

13.00-15.00 น.

กล่าวเปิด โดย ผศ.สุดแดน วิสุทธิลักษณ์

ผู้อำนวยการ พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

บทความ

ความเหลื่อมล้ำในความทรงจำ และเรื่องที่พิพิธภัณฑ์ (ยัง) ไม่เล่า: กรณีศึกษาพื้นที่สาธารณะจัดแสดงประวัติศาสตร์บาดแผลในประเทศไทย เกาหลีใต้ และชิลี

โดย ภัทรภร ภู่ทอง

พิพิธภัณฑ์ในฐานะตัวแทนแห่งความทรงจำ: กรณีพิพิธภัณฑ์เหยื่อคอมมิวนิสต์ในเอสโตเนีย

โดย สมัคร์ กอเซ็ม

พิพิธภัณฑ์แห่งการทรยศของพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย (Museum Pengkhianatan PKI): สถานที่ ความทรงจำ วัตถุพยาน และการสังหารหมู่

โดย อรอนงค์ ทิพย์พิมล

ผู้ให้ความเห็น: ผศ.ดร.อัมพร หมาดเด็น