ทะเบียนวัตถุ: มธ. 1629/ 2535
ชื่อวัตถุ: ไม้นวด
อายุ: พุทธศตวรรษที่ 25
ศิลปะ: –
วัสดุ: ไม้, เชือก
ขนาด: สูง 54 เซนติเมตร, กว้าง 15 เซนติเมตร, ไม้แผ่นบางยาว 15.4 เซนติเมตร
สภาพ: สมบูรณ์
ลักษณะ: ไม้นวดเป็นอุปกรณ์ช่วยกด นวด คลึงเพื่อคลายอาการปวดเมื่อยของร่างกายบริเวณที่ไม่สามารถทำได้ด้วยมือตนเอง ซึ่งทำจากวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น ไม้เนื้อแข็ง
ไม้นวดชิ้นนี้ทำจากไม้เนื้อแข็ง แกะไม้เป็นรูปสตรีเปลือย ขาข้างหนึ่งยืนอยู่บนฐานที่เป็นไม้สำหรับนวด อีกข้างหนึ่งเป็นด้ามจับเวลานวด บากเป็นร่อง 3 ร่อง เพื่อปรับขนาดของผู้นวด บริเวณต้นขาเป็นเดือยต่อกับลำตัวหมุนได้ มีการเจาะ 2 รูบริเวณเอวและต้นขาด้านหลัง แล้วร้อยเชือกเชื่อมต่อกับส่วนด้ามจับและไม้แผ่นบางๆ
ด้านหน้าไม้นวดมีตะปู 1 ตัว ด้านหลังมีหูแขวน 1 จุด และตะปูตอกบริเวณบั้นท้ายของสตรี 1 ตัว
อ้างอิง
กนกรัตน์ กิตติวิวัฒน์. “เรื่องเล่าถึงบ่าวนมนาง” ใน 25 ปี พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2530-2555. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้งเฮาส์, 2555.