ทะเบียนวัตถุ: มธ. 2163/ 2535
ชื่อวัตถุ: น้ำเต้า
อายุ: พุทธศตวรรษที่ 26
ศิลปะ: –
วัสดุ: พืช, ตอก, ไม้
ขนาด: สูง 30 เซนติเมตร, เส้นผ่าศูนย์กลางฐาน 18.5 เซนติเมตร
สภาพ: สมบูรณ์
ลักษณะ: “น้ำเต้า” ภาชนะสำหรับใส่น้ำดื่มระหว่างเดินทาง ทำจากผลน้ำเต้าแห้งที่คว้านเอาเมล็ดออก ตัดด้านที่ใกล้กับขั้วสำหรับกรอกน้ำและเทน้ำออก แล้วทำจุกปิด ใช้หวายและตอกหุ้มรอบๆ และทำหูและตีนหรือเชิงเพื่อให้น้ำเต้าตั้งได้ ในภาษาอีสาน จะเรียก น้ำเต้า ว่า หมากน้ำ
น้ำเต้าชิ้นนี้ใช้ตอกไผ่สานหุ้มตัวน้ำเต้าไว้ และนำตอกมาสานฐานเป็นเชิงเพื่อให้น้ำเต้าตั้งได้ พร้อมกับร้อยเชือกไว้กับฐานหรือเชิงที่สานสำหรับหิ้ว มีการขมวดปมเชือกไว้ที่ฐาน ส่วนจุกปิดน้ำเต้าทำจากไม้
ตอกที่หุ้มรอบน้ำเต้ามีสภาพชำรุดเล็กน้อย จุกน้ำเต้ามีรอยกระดาษสีขาวติดอยู่ ส่วนน้ำเต้าสีไม่สม่ำเสมอเนื่องจากเป็นรอยคาดตามลายตอก
อ้างอิง
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. นามานุกรมเครื่องจักสาน. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2553