ความรู้

25 ปี พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

ดาวน์โหลดหนังสือ 25 ปี พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ พ.ศ.2530 – พ.ศ.2555

30 ปี พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

ดาวน์โหลด อนาคตของพิพิธภัณฑ์ ในเงาของอดีตโดย ศิริพร ศรีสินธุ์อุไร ของสะสม:การหวนพิจารณาใหม่ของชุดสะสมภายใต้บริบทของอาณานิคมโดย อุดมลักษณ์ ฮุ่นตระกูล ของหรู ของหายากจากบนยอดดอยโดย พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ ข้าวของ เครื่องใช้ ครัวและตัวตนของผู้หญิง:ภาพร่างประวัติศาสตร์จาก ‘สิ่งของ’ในพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติโดย ชนิดา ชิตบัณฑิตย์ เมื่อของเล่นพื้นบ้านลูกหวายกลายเป็นกีฬาสมัยใหม่ลูกพลาสติกโดย อาจินต์ ทองอยู่คง ปั้นดินให้เป็นดาวโดย พจนก กาญจนจันทร กินพลู เชี่ยนหมาก ปากแดงโดย พจนก กาญจนจันทร แมว กระต่าย และต้นไม้แห่งชีวิตโดย พจนก กาญจนจันทร

คน ข้าว นา ควาย ในวัฒธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ดาวน์โหลด ข้าวและชาวนาไทย ในกระแสการเปลี่ยนแปลง โดย อ.ดร.ชลิตา บัณฑุวงศ์ จากนักล่ามาเป็นชาวนา จากข้าวป่ามาเป็นข้าวปลูก โดย ผศ.ดร.พจนก กาญจนจันทร การบรรยาย “นาและข้าวในสำนึกชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” และ “วิถีข้าว วิถีชีวิตในการบูรณาการทางสังคมไท” โดย ผศ.ดร. ยุกติ มุกดาวิจิตร และ ผศ.ดร. พิเชฐ สายพันธ์

บ้านเชียง ปฐมบทโบราณคดีไทย

เหตุการณ์บ้านเชียง ชุมชนที่อาศัยอยู่ที่ ต.บ้านเชียง อ.หนองหานจ.อุดรธานี พบว่าใต้พื้นดินในหมู่บ้านมีโครงกระดูกมนุษย์โบราณฝังร่วมกับวัตถุมากมายโดยเฉพาะภาชนะเขียนลายสีแดงสวยงามแปลกตา ใบที่สมบูรณ์ถูกนํามาใช้ประโยชน์ ใน พ.ศ.2503 โรงเรียนบ้านเชียงจัดห้องพิพิธภัณฑ์เพื่อรวบรวมวัตถุที่พบในหมู่บ้าน เมื่อมีเจ้าหน้าที่มาตรวจโรงเรียนก็มักจะมอบภาชนะเขียนลายให้เพื่อหวังให้มีคนสนใจ พ.ศ. 2508 ภาชนะเขียนลายสีแดงใบสุดท้ายของโรงเรียนมอบให้กับเจ้าหน้าที่จังหวัด และถูกส่งต่อไปยังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร พ.ศ. 2510 การศึกษาโบราณคดีบ้านเชียง เริ่มต้นขึ้นอย่างจริงจังโดยกรมศิลปากรและสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดําเนินทอดพระเนตรการขุดค้นของกรมศิลปากร พ.ศ. 2516 นายสตีเฟน ยัง นักศึกษาสังคมวิทยาเดินทางไปที่บ้านเชียงให้ความสนใจภาชนะเขียนลายสีแดงเป็นอย่างมาก หม้อเขียนลาย งานสํารวจขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านเชียง เริ่มขึ้นราว พ.ศ....

คน ข้าว นา ควาย ในวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

มองสังคมผ่านวิวัฒนาการ ‘ข้าว มนุษย์รู้จักปลูกข้าวตั้งแต่เมื่อไร มีศาสตร์หลายสาขาที่ใช้ ‘ข้าว’ เป็นวัตถุในการศึกษาสังคมมนุษย์ เพราะวิวัฒนาการ ของการเพาะปลูกข้าวสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม และ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกันเองในช่วงที่มีการเปลี่ยนผ่านทางสังคมจากการหาของป่าล่าสัตว์มาเป็นสังคมเกษตรกรรม หลักฐานทางโบราณคดีบ่งบอกว่ามนุษย์ใน ลุ่มแม่น้ำแยงซีนำข้าวมาเป็นอาหารเมื่อกว่าหมื่นปีที่แล้ว และเริ่มเพาะปลูกข้าวเมื่อ ประมาณ 6,000 ปีที่แล้ว ก่อนที่จะแพร่กระจายไปยังภูมิภาคต่างๆจนมีการเพาะปลูก อย่างแพร่หลายในปัจจุบันการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์เชิงโบราณคดีเผยให้เห็นถึง ความซับซ้อนของกระบวนการกลายมาเป็น ‘พันธุ์พืชปลูก’ ของข้าว พัฒนาการทางสังคมกับการเพาะปลูก        เมื่อหลังสิ้นสุดยุคน้ำแข็ง อุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้นและมีฝนตกชุก...

ชีวประวัติของทุ่งรังสิต: จากสมัน นาข้าว สาวโรงงาน ถึงนักศึกษาและเหี้ย

ใช่ว่าจะมีแต่มนุษย์เท่านั้น ที่มีอัตชีวประวัติ สถานที่ก็เช่นกัน สถานที่แต่ละแห่งมีชีวประวัติเป็นของตนเอง        ในขณะที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งประกาศตนเป็น มหาวิทยาลัยของประชาชน เป็นมหาวิทยาลัยที่มีเสรีภาพทุก ตารางนิ้ว ซึ่งกำลังจะมีอายุครบ 80 ปี ใน พ.ศ 2557 นี้ “ทุ่งหลวงหรือทุ่งรังสิต” ก็มีชีวประวัติเป็นของตนเอง เป็นชีวประวัติที่เกี่ยวพันอย่างสำคัญ กับความเปลี่ยนแปลงของกายภาพของที่ราบภาคกลาง และผูกพันอย่างแนบแน่นกับความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของสังคมไทย โดยได้ผนวกรวมเอาชีวิต ส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งใน ชีวประวัติอันซับซ้อนนั้น ...

เครื่องเขิน: หัตถศิลป์แห่งภูมิปัญญา

“เครื่องเขิน” งานหัตถศิลป์ของชาวล้านนา รับอิทธิพลมาจากไทเขิน ได้บ่งบอกถึงภูมิปัญญาของผู้คนในการเลือกรับปรับแต่งวัสดุพื้นถิ่น ให้เป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่วิจิตรงดงาม และทรงคุณค่า ความเป็นมา           เครื่องเขิน คือหนึ่งในงานหัตถกรรมที่แพร่หลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือเอเชียอาคเนย์ ในอดีตเครื่องเขินมีสถานภาพเป็นทั้งของใช้ในครัวเรือน เครื่องใช้ในพิธีกรรม ตลอดจนรูปเคารพและงานศิลปกรรม เครื่องเขินมีโครงสร้างจากไม้และที่นิยมมากที่สุดคือ โครงสร้างจากไม้ไผ่ ซึ่งช่วยให้ของใช้นั้นมีน้ำหนักเบา หลักการของเครื่องเขินคือนำเครื่องจักสานมาเคลือบด้วยยางไม้ชนิดหนึ่งที่มีสีดำ ซึ่งเรียกกันว่า ยางรัก ภาชนะใช้สอยเมื่อเคลือบยางรักและตกแต่งผิวให้สวยงามด้วยวิธีการต่างๆ เสร็จแล้วจึงเรียกว่า เครื่องเขิน           ความเป็นมาของ “เครื่องเขิน” สืบจากหลักฐานในประเทศจีนที่พบว่ามีภาชนะเครื่องรักมากว่า 4,000 ปีแล้ว...