ในกระบวนการวิวัฒนาการ กลุ่มไพรเมตมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ สมองไพรเมตในส่วนที่ควบคุมการมองเห็นมีความซับซ้อนและหลากมิติมากขึ้น ในขณะที่สมองของการควบคุมการได้กลิ่นลดลง ตาทั้งสองข้างมองเห็นภาพที่มีความคมชัดขึ้นในกรอบที่กว้างกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ทำให้ “การมอง” มีบทบาทสำคัญเพิ่มมากขึ้นต่อการเรียนรู้ มีการศึกษาว่าลีเมอร์ (Lemur)   ซึ่งอยู่ในกลุ่มโพรซิเมียน (Prosimian)  ลูกจะเรียนรู้แบบแผนพฤติกรรมจากแม่ โดยลูกมักจะให้ความสนใจสังเกตพฤติกรรมแม่ มากกว่าที่แม่จะสนใจมองลูก หรือ การสังเกตของลูกชิมแปนซีเพศเมียเก็บใบไม้มาเช็ดลำตัว หลังจากเห็นแม่ของมันทำอาการดังกล่าว

Photo credit: Dr. Michael D. Gumert

นักวานรวิทยาญี่ปุ่นรายงาน (ในช่วงทศวรรษที่ 1950)  เกี่ยวกับพฤติกรรมของลิงญี่ปุ่น (Japanese macaque) ที่ลิงเพศเมียวัยเด็กเริ่มพฤติกรรมใหม่ด้วยการนำเอาหัวมันเทศไปล้างเศษดินและทรายก่อนกิน (ตามปรกติตัวอื่น ๆ ที่ผ่านมาจะใช้มือเช็ดเศษดินออก) พฤติกรรมนี้ถ่ายทอดไปยังแม่ของมันและกลุ่มเพื่อนเล่นวัยเด็กก่อน จากนั้นพฤติกรรมนี้แพร่ไปยังสมาชิกเพศเมียตัวอื่นและเพศผู้ตามลำดับ หลังจากนั้นใช้เวลาอีก 9 ปี สมาชิกของกลุ่มทั้งหมดจึงยอมรับพฤติกรรมใหม่นี้ และยังนำเอาไปใช้กับการเอาข้าวสาลี (ซึ่งเป็นอาหารชนิดใหม่) ไปล้างน้ำก่อนกินด้วย

ข้อมูลเกี่ยวกับแบบอย่างและพฤติกรรมของวานร ในระยะหลัง มีส่วนในการตั้งคำถามว่า มีเพียงมนุษย์เท่านั้นหรือที่มี “วัฒนธรรม” การศึกษาในระยะหลังพบว่า ทักษะในชีวิตประจำวัน 50 อย่างของชาวอกา ปิ๊กมี่ (Aka Pygmies) เป็นการเรียนรู้ผ่านการมองและลงมือทำ โดยไม่ผ่านการสอน มนุษย์เราจึงสืบทอดวัฒนธรรมบางอย่างโดยผ่านการมองและลงมือทำ นิยามที่ว่า การเรียนรู้ผ่านการสอนเป็นส่วนหนึ่งของการส่งต่อ สืบทอดวัฒนธรรม จึงไม่จำเป็นเสมอไป การศึกษาวานร จึงมีส่วนในการตั้งคำถามว่า วัฒนธรรมคืออะไร ? วัฒนธรรมไม่ได้ถูกผูกขาดโดยมนุษย์ และ สัตว์มีวัฒนธรรมหรือไม่ ?

Stone tool uses in NHPs: world distribution Credit: Professor Dr. Suchinda Malaivijitnond
ลิงคาปูชิน
ลิงชิมแพนซี
ลิงแสม

ความสามารถในการผลิตและใช้ “เครื่องมือหิน” ที่ชับซ้อน ถือเป็นความโดดเด่นอย่างหนึ่งในพัฒนาการของนุษย์ ซึ่งต้องอาศัยโครงสร้างของ “มือ” ที่มีความเหมาะสมเพื่อกรหยิบ จับ กะเทาะหินและพัฒนาการของสมองในกระบวนการคิดและ ประยุกต์ใช้ จากการสำรวจพื้นที่ในบริเวณแอ่งแม่มะ และอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง บริเวณนินดินที่อยู่ใกล้ลำธารแห่งหนึ่ง บริเวณผิวดินพบสะเก็ดหิน เศษหินเหลือใช้ ขวานหินกะเทะและโกลนขวานหินขัดกระจัดกระจายอยู่หนาแน่น ประมาณได้ว่า ในหนึ่งตารางเมตรพบในปริมาณ 60-80 ชิ้น ประกอบด้วยสะเก็ดหินและเศษสะเก็ดหิน (Flakes) หลายขนาด โดยสะเก็ดหินที่พบส่วนใหญ่ขอบโดยรอบยังมีความคม ไม่มีร่องรอยการใช้งาน นอกจากนั้นยังพบ เครื่องมือหิน เช่น ขวานกะเทาะ (Hand Axes) มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีรอยกะเทาะโดยรอบ เครื่องมือสะเก็ดหิน (Flaked Tools) หลายลักษณะ รูปกลมรี มีรอยกะเทาะตกแต่งขอบให้คมเพื่อใช้งาน เครื่องมือขูด (Scrapers) เป็นสะเก็ดหินรูปวงรีหรือทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตกแต่งขอบคมของรอย กะเทาะด้านใดด้านหนึ่งหรือขอบตามยาวทั้งสองข้างเพื่อใช้งาน ขวานหินขัด (Polished Stone Adzes) ที่บงชิ้นมีร่องรอยการถูกใช้งานจนกะเทาะแตกตลอดแนว นอกจากนี้ยังพบเศษภาชนะดินเผา เนื้อดินเผา หยาบมีเม็ดทรายปะปนในเนื้อดินค่อนข้างมาก สันนิษฐานในเบื้องต้นว่า บริเวณแหล่งที่พบนี้อาจเป็นแหล่งผลิตเครื่องมือหิน ประเภทขวานกะเทาะและขวานหินขัดในยุคหินกลางตอนปลาย (12,000 – 10,000 ปีที่ผ่านมา) ต่อช่วงหินใหม่ ( 4,000 -2,500 ปีที่ผ่านมา)