ในการทดลองกับวานรใหญ่ไร้หาง เช่น กอริลลา ชิมแปนซี และโบโนโบ พบว่าสามารถเรียนรู้ไวยากรณ์ในภาษาสัญลักษณ์หรือภาษาท่าทาง แม้จะอยู่ในระดับต่ำกว่ามนุษย์วัยผู้ใหญ่ แต่ก็อยู่ในระดับสูงกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป จากการศึกษา โกโก้ (Koko) กอริลลาที่เกิดในสวนสัตว์ซานฟรานซิสโก (เกิด พ.ศ.2514-2561) พบว่าสามารถเรียนรู้ “ภาษาสัญลักษณ์” ได้จำนวนเท่ากับเด็ก 3 ขวบ และสื่อสารเรื่องนามธรรม เช่น “ดี” หรือ “ปลอม” แม้การทดลองและข้อสรุปดังกล่าวนี้จะถูกตั้งข้อสงสัย แต่โกโก้ ก็เป็นที่รู้จักในฐานะที่เป็นวานรที่พยายามเรียนรู้การสื่อสารกับมนุษย์ โกโก้มีแมวเป็นสัตว์เลี้ยงของตนเองและเป็นผู้ตั้งชื่อให้ว่า All Ball, Miss Black และ Miss Gray
เจน กูดัลล์บอกว่า ชิมแปนซีสามารถเรียนรู้ภาษากายและภาษามือ (Sign language) และคำมากมาย แต่ชิมแปนซียังไม่ได้พัฒนา การสื่อสาร มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า ชิมแปนซี โบโนโบ และกอริลลา เรียนรู้การใช้ไวยากรณ์ในภาษาสัญลักษณ์หรือภาษาท่าทาง ที่ใช้กับคนหูหนวก หรือสามารถสื่อสารกับมนุษย์ผ่านอุปกรณ์เทคโนโลยี ใน พ.ศ. 2561 มีรายงานการศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่า อุรังอุตังสามารถ “เล่าถึง” เหตุการณ์ในอดีตได้ หรือเพื่อที่จะสนทนากับวานร มนุษย์อาจต้องศึกษา “ภาษาของวานร” มากกว่าที่จะสอนให้วานรมาศึกษาภาษาของมนุษย์
ดร.เพนนี แพทเทอสัน (Penny Patterson) นักจิตวิทยาสัตว์ชาวอเมริกัน กำลังสนทนากับโกโก้ด้วยภาษามือแบบอเมริกัน ซึ่งเธอเรียกว่า ภาษามือกอริลลา (Gorilla Sign Language-GSL) ช่วง พ.ศ. 2515
Photo credit: Criterion Collection