มองสังคมผ่านวิวัฒนาการ ‘ข้าว

มนุษย์รู้จักปลูกข้าวตั้งแต่เมื่อไร มีศาสตร์หลายสาขาที่ใช้ ‘ข้าว’ เป็นวัตถุในการศึกษาสังคมมนุษย์ เพราะวิวัฒนาการ ของการเพาะปลูกข้าวสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม และ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกันเองในช่วงที่มีการเปลี่ยนผ่านทางสังคมจากการหาของป่าล่าสัตว์มาเป็นสังคมเกษตรกรรม หลักฐานทางโบราณคดีบ่งบอกว่ามนุษย์ใน ลุ่มแม่น้ำแยงซีนำข้าวมาเป็นอาหารเมื่อกว่าหมื่นปีที่แล้ว และเริ่มเพาะปลูกข้าวเมื่อ ประมาณ 6,000 ปีที่แล้ว ก่อนที่จะแพร่กระจายไปยังภูมิภาคต่างๆจนมีการเพาะปลูก อย่างแพร่หลายในปัจจุบันการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์เชิงโบราณคดีเผยให้เห็นถึง ความซับซ้อนของกระบวนการกลายมาเป็น ‘พันธุ์พืชปลูก’ ของข้าว

ภาพบน เปรียบเทียบลักษณะของฐานช่อดอกระหว่างข้าวป่า (ซ้าย) และข้าวปลูก (ขวา) ที่แตกต่างกัน เมล็ดข้าวป่าที่แก่เต็มที่แล้วจะหลุดออกจากรวงได้ง่ายกว่า เป็นลักษณะทางธรรมชาติที่เอื้อให้พืชมีการขยายพันธุ์ แต่ลักษณะนี้จะไม่พบในพันธุ์ข้าวปลูก
ที่มาภาพ: Fuller et al. 2011: 46

พัฒนาการทางสังคมกับการเพาะปลูก
       เมื่อหลังสิ้นสุดยุคน้ำแข็ง อุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้นและมีฝนตกชุก ส่งผลให้ภูทิทัศน์ และระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงอย่างมาก มนุษย์ที่ยังชีพด้วยการหาของป่าล่าสัตว์ เรียนรู้ว่าพืชและสัตว์สามารถนำมาขยาย พันธุ์ได้ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม นักโบราณคดีพยายามศึกษากระบวนทางธรรมชาติและกระบวนการทางวัฒนธรรมที่ข้าวกลายมาเป็นพืชปลูก โดยการวิเคราะห์ ทางวิทยาศาสตร์ เช่น การศึกษาพันธุกรรมข้าว เรณูวิทยาที่ศึกษาสัณฐานของข้าวและพืชที่เกี่ยวข้อง และการวิเคราะห์ DNA ข้าว ซึ่งจะทำให้เห็นวิวัฒนาการของการเพาะ- ปลูกข้าวที่นำมาอธิบายความสัมพันธ์ของคนในแต่ละภูมิภาคได้

ภาพล่าง การวิเคราะห์ด้วย Single-nucleotide polymophism (SNP) แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพของข้าวป่าคือรอยต่อบริเวณฐานช่อดอก (ลูกศรชี้) ได้หายไปในพันธุ์ที่กำลังกลายมาเป็นข้าวปลูก
ที่มาภาพ: www.nias.affrc.go.jp/eng/research/2006-2010/nias06-10-02.htm

ข้าว: ของขวัญจากธรรมชาติ

อาหารให้พลังงาน
มีธัญพืชหลายชนิดที่มนุษย์นำมาเป็น อาหารและนำมาพาะปลูกนับตั้งแต่มนุษย์เริ่มรู้จักการเพาะปลูก แล้วข้าวก็ค่อยๆทวีความ สำคัญและกลายมาเป็นอาหารหลักของคนในหลายภูมิภาค ในประเทศไทยพบหลักฐาน การเพาะปลูกข้าวอย่างน้อยเมื่อ 3,500 ปีที่แล้ว เหตุผลที่ข้าวได้รับนิยมและมาแทนที่ อาหารให้พลังงานชนิดอื่น เช่น เผือก มันสาคู และสาเกก็อาจเป็นเพราะข้าวเป็นพืชที่เติบโต ได้ง่ายในหลายสภาพพื้นที่ และเมล็ดข้าวเปลือก ก็สามารถเก็บไว้ได้นานโดยไม่เน่าเสีย

อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรทของคนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น (จากซ้ายไปขวา) เผือก ข้าวฟ่าง สาคู สาเก
ภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ผาหมอนน้อย อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี แสดงภาพมือคน และภาพคนเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์
ที่มาภาพ: www.vcharkarn.com/vblog/98004/37

ข้าวเป็นอาหารหลักของคนเอเชียมาช้านาน และเป็นที่รู้จักของชาวกรีกและ โรมันว่าเป็นอาหารที่มีคุณประโยชน์และช่วยรักษาอาการเจ็บป่วยได้

“Oryza, rice . Pliny and Dioscorides class it with the wheats; whereas Galen, on the contrary places it among vegetables. Rice was rather scarce in Greece at the time when Theophrastus lived; it has lately been brought from India, 286 years before Christ….Rice was also held in great esteem by them (Greek and Roman): they considered it as a food very beneficial to the chest; therefore it was recommended in cases of consumption, and to persons subject to spitting of blood.” (The Pantropeon or History of Food by Soyer 1853: 20, 43).

 

 

นา นา นา

ข้าว เป็นพืชที่มีการปรับตัวได้ ดีและสามารถเจริญเติบโตได้ใน หลากหลายสภาพภูมิอากาศทั้งใน แถบกึ่งอบอุ่นไปจนถึงแถบมรสุม และในหลายสภาพภูมิประทศตั้ง แต่ที่ราบลุ่มไปจนถึงบนภูเขาสูง ปัจจุบันการเพาะปลูกข้าวได้ พัฒนาขึ้นเป็นการทำนาในแปลง ทดน้ำและมีการไถพรวน แต่ก่อน ที่จะมีระบบชลประทานมนุษย์ ปลูกข้าวในที่ลุ่มและบนที่ดอนโดย อาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ หรือปลูก ในพื้นที่น้ำท่วมตามริมฝั่งแม่น้ำ และรอบทะเลสาบนักโบราณคดีตั้งคำถามว่ามนุษย์รู้จักการปลูกข้าว ในแปลงนาน้ำขังที่มีคันดินกั้นตั้ง แต่เมื่อไรเพราะพัฒนาการด้านการเพาะปลูกนี้สะท้อนสภาพสังคมที่มีความซับซ้อนที่มีความต้องการ ผลผลิตมากขึ้น และต้องมีระบบ การจัดการน้ำ จัดการที่ดิน และมี การใช้แรงงานอย่างเข้มข้นด้วย

หลุมขุดค้นที่เจียงซู ประเทศจีน พบร่องรอยที่สันนิษฐานว่าเป็นการทำนาน้ำท่วม โดยมีหลุมลึกเอาไว้สำหรับให้น้ำที่ไม่ต้องให้แช่ขังในแปลงนาลงไปขังในหลุมแทน
(ที่มาภาพ Fuller et al. 2011:46)
นาขั้นบันไดที่ประเทศฟิลิปปินส์ ที่มาภาพ http://board.postjung.com/536782.html

 

 

คนกับควาย

ในวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ควายเป็นสัญลักษณ์ของสังคมเกษตรกรรม มาช้านาน ควายถูกนำมาใช้เป็นสื่อสัญลักษณ์ ในเชิงพิธีกรรมมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุหลายชิ้นทำเป็นรูปควาย หรือมี ส่วนประดับที่เป็นเขาควาย หรือรูปพิธีกรรม ที่มีควายเป็นส่วนประกอบ เมื่อยุคสมัยเปลี่ยน วัฒนธรรมเปลี่ยน เพราะเหตุใดปัจจุบัน ‘ควาย’ จึงกลายเป็น คำอุปมาเปรียบเปรยถึงความโง่เขลาเบาปัญญา

ภาชนะดินเผาพบที่แหล่งโบราณคดีสมัยหินใหม่
ที่หนองราชวัตร อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี
กลองสำริดวัฒนธรรมดองเซิน
ลวดลายด้านข้างกลองมีรูปการประกอบพิธีกรรม ที่คนกำลังถืออาวุธและควายถูกผูกไว้กับเสา
(คอลเลคชันส่วนบุคคล)

‘ข้าว’ กับการเกิดเมือง

ข้าว ชลประทาน การขนส่งและการเกิดเมือง ภายหลังสนธิสัญญาเบาว์ริง พ.ศ. 2398 ข้าวกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ของไทยจากความต้องการในตลาดโลกที่เพิ่มมากขึ้น มาในสมัยรัชกาลที่ 5 ภายหลัง การเลิกทาส พ.ศ. 2415 เสรีชนจำนวนมากถูกผลักดันให้ไปตั้งถิ่นฐานนอกเขต กรุงเทพฯและจากพระราชดำริในเรื่องการพัฒนาทุ่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา จึงมีโครงการขุดคลองเข้าไปในทุ่งหลวงรังสิต โดยบริษัทขุดคลองและคูนาสยาม ได้รับสัมปทานในการขุดคลอง จากทุ่งป่ารกร้างมีแต่สัตว์ป่าอาศัยอยู่ก็กลาย เป็นพื้นที่เพาะปลูก และได้มีประชากรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งได้รับการสถาปนา เป็น ‘เมืองธัญญบูรี’ เมื่อ พ.ศ. 2445 ในขณะนั้นคลองรังสิตยังใช้ประโยชน์ด้าน ชลประทานได้ไม่เต็มที่เนื่องจากมีลักษณะเป็นคลองรับน้ำนองจากแม่น้ำที่ไหลล้นมาเท่านั้น บางปีก็เกิดน้ำท่วมหนัก ไร่นาเสียหายและเกิดโรคระบาด บางปีก็แห้งแล้งจัด จนเกิดทุพภิกขภัย

โครงการชลประทานป่าสักใต้ ประตูน้ำปลายคลอง 6 วา สายบนต่อคลอง 1
ที่มาภาพ : สุนทรี อาสะไวย์ 2530: 22
เรือข้าวในคลองรังสิต
ที่มาภาพ : สุนทรี อาสะไวย์ 2530: 21
.
ภาพถ่ายทุ่งรังสิต พ.ศ. 2507 สถานที่ก่อสร้าง มหาวิทยาธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ที่มาภาพ: หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

ทุ่งรัตสิต พ.ศ. 2505 บริเวณที่กลายมาเป็นห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์ปาร์ครังสิตในปัจจุบัน
ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/home/news/life-style/lifestyle/2009/02/03/news_12699.php
       ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 จึงได้เกิด ‘โครงการป่าสักใต้’ ที่เป็นการพัฒนาระบบ ชลประทานเพื่อการปลูกข้าว โดยการสร้าง เขื่อนกั้นน้ำในพื้นที่เจ้าพระยาตอนล่าง ทำให้ การจัดการน้ำมีประสิทธิภาพมากขึ้น และ ผลผลิตข้าวของไทยสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดโลกได้

       ทุ่งรังสิตเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ อีกครั้งภายหลัง พ.ศ. 2500 จากแผน พัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 1 ส่งผลให้มีการ ขยายเมืองไปตามเส้นทางถนนหลวงหมาย เลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ซึ่งพื้นที่ทุงรังสิตก็ กลายเป็นเขตอุตสาหกรรม แหล่งที่อยู่อาศัย และที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งมา จนถึงปัจจุบัน