ภาพถ่ายจากการทำงานภาคสนามในประเทศลาว ปี พ.ศ. 2541-2544
ภาพถ่ายมาจากการสำรวจประเทศลาวในหลายพื้นที่ ได้แก่ แขวงหลวงน้ำทา แขวงหัวพัน แขวงหลวงพระบาง นครเวียงจันทน์ แขวงเชียงขวาง
ปี 2541-2542 ศึกษากลุ่มชาติพันธุ์พวนและไทแดง ในแขวงเชียงขวาง เมืองซำเหนือ แขวงหัวพัน ภาพถ่ายสะท้อนให้เห็นภาพสังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย การทำนา การเลี้ยงไหม การทอผ้า การหาอาหาร สภาพบ้านเรือน ลักษณะภูมิประเทศ ยานพหนะ การเดินทาง การเลี้ยงสัตว์ การค้าขาย การทำเหล้า เป็นต้น
ปี 2544 สุมิตร ปิติพัฒน์ ร่วมกับ วราภรณ์ พันธ์วงศ์กล่อม นาริสา เดชสุภา เทียมจิตต์ พ่วงสมจิตต์ จารุชา เอื้อไมตรีภิรมย์ พิเชษ สายพันธ์ สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และภาคภูมิ โกกะอินทร์ ลงพื้นที่แขวงหลวงน้ำทา ศึกษากลุ่มชาติพันธุ์กะลอมหรือลาวยวนที่อาศัยอยู่ในแขวงหลวงน้ำทา ในครั้งนั้นได้ศึกษาประเด็นประวัติศาสตร์ ศาสนา ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม ภาษาและวัฒนธรรม การแต่งกาย
ปี 2544 สุมิตร ปิติพัฒน์ ร่วมกับ พิเชฐ สายพันธ์ ธารารัตน์ เจริญสนธิชัย และดำรงพล อินทร์จันทร์ ได้เดินทางไปสำรวจกลุ่มชาติพันธุ์ไทในเมืองเชียงเงิน แขวงหลวงพระบาง จำนวนสามกลุ่มคือ กลุ่มไทยวน ไทกา และไทเหมือน อีกทั้งยังได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในเมืองเชียงเงิน ผ่านประเพณีแข่งเรือระหว่างหมู่บ้านต่างๆ ในลุ่มน้ำคาน และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทในเมืองเชียงเงินที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมลาว นอกจากนี้ ยังได้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับพิธีกรรม ความเชื่อ และระบบสัญลักษณ์ที่มีบทบาทร่วมกันในงานบุญสงกรานต์เมืองหลวงพระบาง