พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ร่วมกับ (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
– หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการศิลปวัฒนธรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
– หลักสูตรนานาชาติ การจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
– หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ธรรมชาติ และวัฒนธรรม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
– ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
– U-Inspire Thailand
ขอเรียนเชิญนักศึกษา นักวิจัย นักปฏิบัติการ ส่งบทคัดย่อบทความภาษาไทย (ไม่จำกัดความยาว รูปแบบ) เพื่อนำเสนอในการประชุมวิชาการ “พิพิธภัณฑ์และมรดกวัฒนธรรม ครั้งที่ 2” (Second Museum and Heritage Conference 2022) ในรูปแบบออนไลน์
ภายใน 15 พฤศจิกายน 2564 (ขยายถึง 30 พฤศจิกายน 2564) ทางอีเมล (ส่งที่ tiamsoon@staff.tu.ac.th และ tiamsoon@gmail.com)
บทความที่นำเสนอในการประชุมอาจเป็นการนำเสนอตัวอย่างที่น่าสนใจ (Case study) ในการดำเนินการทางด้านพิพิธภัณฑ์หรือมรดกวัฒนธรรม
โปรดระบุว่าบทความอยู่ในหัวข้อใดจาก 8 หัวข้อ ดังต่อไปนี้
1. Dissonant Memories: ความทรงจำที่ไม่ลงรอยกัน ความขัดแย้งในประวัติศาสตร์ ที่ถูกนำเสนอในงานด้านมรดกและพิพิธภัณฑ์
2. Conservation Works: การอนุรักษ์งานศิลปะ โบราณสถาน สถาปัตยกรรม และวัตถุทางวัฒนธรรม ในเชิงวิทยาศาสตร์ เทคนิควิธีใหม่ รวมทั้งการอนุรักษ์ตามหลักสากลในบริบทของท้องถิ่น
3. Archaeological innovation: โบราณคดียุคใหม่ แนวปฏิบัติ เทคโนโลยี และกรอบคิดใหม่ที่สัมพันธ์กับประเด็นทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองที่ปรากฏในงานโบราณคดี
4. Inclusive Tourism: บทบาทของมรดกและพิพิธภัณฑ์ในการท่องเที่ยวในระดับต่างๆ ที่ให้ความสำคัญกับชุมชนและผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่ม
5. Intangible Cultural Heritage: การสงวนรักษา สืบทอด มรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ รวมทั้งอิทธิพลต่อกิจกรรมและการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์
6. Historic & Creative Cities: เมืองเก่า เมืองสร้างสรรค์ การพัฒนา การบริหารจัดการ การสร้างศักยภาพในการแข่งขันให้แก่เมืองเก่า ด้วยนวัตกรรมทางวัฒนธรรม
7. Heritage & Museum in the Digital Age: การดำเนินงานด้านมรดกและพิพิธภัณฑ์ในยุคดิจิทัล การนำเสนอ การสร้างสรรค์เนื้อหาเพื่อสร้างความเข้าใจและเทคนิค นวัตกรรม รวมถึงการปรับตัวในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19
8. Climate change & Disaster management: มรดกกับการรับมือภาวะความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ และการลดผลกระทบจากภัยพิบัติ
หลังการประชุม จะมีการคัดเลือกบทความที่มีคุณภาพดี มาพัฒนาเพื่อรวมเล่มเผยแพร่ในรูปแบบไฟล์หนังสือ ซึ่งจะมีกระบวนการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิและปรับแก้ไข รวมทั้งจัดพิมพ์จำนวนจำกัดสำหรับผู้เขียน และผู้สนใจสั่งพิมพ์
การประชุม มีกำหนดการสำคัญ ดังนี้
– เปิดรับบทคัดย่อ 1 ตุลาคม 2564 – 15 พฤศจิกายน 2564 (ขยายเวลาถึง 30 พฤศจิกายน 2564)
– ประกาศผลพิจารณาบทคัดย่อรอบแรก 22 พฤศจิกายน 2564 รอบสอง 7 ธันวาคม 2564
– ปิดรับบทความฉบับสมบูรณ์ 20 เมษายน 2565
– ประกาศตารางการนำเสนอบทความ 11 พฤษภาคม 2565
– จัดการประชุมทาง webinar ตั้งแต่ 24 พฤษภาคม 2565
– จัดทำหนังสือรวมบทความเด่น กรกฎาคม – สิงหาคม 2565