ทะเบียนวัตถุ: มธ. 2342/ 2535
ชื่อวัตถุ: อัก
อายุ: พุทธศตวรรษที่ 25
ศิลปะ: พื้นถิ่นอีสาน
วัสดุ: ไม้
ขนาด: สูง 50 เซนติเมตร, ฐานยาว 60 เซนติเมตร, ขอบฐาน 10.5 เซนติเมตร
สภาพ: สมบูรณ์
ลักษณะ: “อัก” หรือ อีสานเรียกว่า “กวัก” เป็นเครื่องคัดเส้นด้ายหรือเส้นไหม ทำด้วยไม้คล้ายหลอดด้าย ตรงกลางใช้ไม้กากบาท เจาะรูตรงกลาง ปลายทั้ง 4 ด้านมีไม้ประกบสำหรับพันด้ายหรือไหม มีฐานและแกนไม้สำหรับสวมรูตรงจุดศูนย์กลางเพื่อให้อักหมุน อักใช้กรอด้ายหรือไหมจากระวิงให้เป็นระเบียบ ก่อนจะสาวเข้ากงเพื่อแยกเป็นปอยๆ และแยกเป็นไจๆ อัก สำหรับกรอด้าย เรียก อักด้าย อักสำหรับกรอไหม เรียก อักไหม
อักในแต่ละพื้นถิ่นจะมีการใช้วัสดุและรูปทรงที่แตกต่างกันตามสภาพแวดล้อม และวิถีชีวิตของผู้คนเช่นเดียวกับ อักชิ้นนี้ของพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ที่ทำจากไม้เนื้อแข็ง โครงอักแกะไม้เป็นรูปนาค (พญานาค) แผ่นไม้ประกบอักแกะเป็นรูปธรรมจักรทั้ง 2 ด้าน ส่วนฐานแกะเป็นลวดลายพันธุ์พฤกษา ถือเป็นอักที่สะท้อนให้เห็นถึงความศรัทธาในพุทธศาสนาที่ถ่ายทอดผ่านเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของผู้ใช้
ที่ฐานมีรอยแตกผุ 2 จุด และขอบฐานมีรอนแตกผุ 1 จุด
อ้างอิง
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. สารนุกรมผ้าและเครื่องถักทอ. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2550.
วัฒนะ จูฑะวิภาต. ผ้าทอกับชีวิตคนไทย, กรุงเทพฯ: มหาธุรกิจบัณฑิตย์, 2555.