ทะเบียนวัตถุ: มธ. 1672/ 2535
ชื่อวัตถุ: พิมพ์ทำขนม
อายุ: พุทธศตวรรษที่ 25
ศิลปะ:–
วัสดุ:ไม้
ขนาด: กว้าง 12.6 เซนติเมตร, ยาว 32.7 เซนติเมตร, หนา 4.7 เซนติเมตร
สภาพ: ชำรุด พิมพ์แตก
ลักษณะ: พิมพ์ทำขนม (ชาวจีน) อาจจะเป็นพิมพ์ขนมอั่งถ่อก้วย ก็เป็นได้ “อั่งถ่อก้วย” เป็นภาษาจีนแต้จิ๋ว อั่ง หมายถึง สีแดง (รวมถึงตระกูลสีแดงอื่นๆ เช่น ชมพู บานเย็น ส้ม), ถ่อ หมายถึง ลูกท้อ และ ก้วย หมายถึง แป้งข้าว รวม 3 คำ จึงมีความหมายว่า ขนมที่ทำจากแป้งข้าวเหมือนลูกท้อสีแดง บนขนมมักจะมีตัวอักษรภาษาจีน ที่เป็นตัวอักษรมงคลมีความหมายในทางที่ดี ขนมชนิดนี้จึงเป็นขนมมงคลของชาวจีนใช้ทุกเทศกาลตั้งแต่เกิดจนตาย
พิมพ์ทำขนมชิ้นนี้ทำจากไม้ท่อนใหญ่ ตรงกลางไม้แกะสลักเป็นพิมพ์รูปพระจีน (พระสังกัจจายน์) แต่เนื่องจากการใช้งานมากทำให้พิมพ์แตก จึงใช้น็อต 6 ตัวตีประกบไว้
อ้างอิง
นิทรรศการภาพถ่าย “คนกับของ” ส่วนหนึ่งของ นิทรรศการ “รู้จักสิ่งของ เข้าใจผู้คน” พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
เสี่ยวจิว. “อั่งถ่อก้วย ขนมฟ้าประทานที่ใช้กันตั้งแต่เกิด-ตาย” ใน ศิลปวัฒนธรรม มิถุนายน 2552.