ภาพถ่ายจากการสำรวจแหล่งวัฒนธรรมและเก็บข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศเวียดนาม

44
views

กลุ่มภาพถ่ายจากการทำงานภาคสนามสำรวจศึกษาชนชาติไทในประเทศเวียดนาม ปี พ.ศ. 2542-2545

คนไทเมืองกว่า ปี 2542 ศึกษากลุ่มคนไทในตำบลมุนเซิน (เมืองกว่า) อำเภอกอนกวง (Con Cuong) จังหวัดเหง่อัน (Nghe An) ที่เดิมทีเคยเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นสิบสองจุไท มีคนไทและกลุ่มชาติพันธุ์อื่นอาศัยมาอย่างยาวนาน เมืองกว่ามีกลุ่มชาติพันธุ์ไทแถงและไทเมืองอยู่เป็นจำนวนมาก ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลพื้นฐานของเมืองกว่า (Muong Qua) ที่ในปัจจุบันคืออำเภอมุนเซิน อำเภอกอนกวง จังหวัดเหง่อัน ประกอบด้วย 1) ประวัติการตั้งถิ่นฐาน 2) ลักษณะทางภูมิศาสตร์ 3) ลักษณะทางสังคม เศรษฐกิจ และการปกครอง ลักษณะบ้านเรือนของไทแถง ลักษณะครอบครัว ระบบเครือญาติ ลักษณะการแต่งกาย คติชาวบ้าน ดนตรีและการฟ้อน การรักษาพยาบาล ลักษณะทางเศรษฐกิจ ลักษณะการปกครอง 4) ประเพณี พิธีกรรม และความเชื่อ

คนไตและลาจี ปี 2543 สุมิตร ปิติพัฒน์, เสมอชัย พูลสุวรรณ และพิเชฐ สายพันธ์ ได้สำรวจกลุ่มคนไตและลาจีในภาคเหนือของเวียดนาม โดยผลการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับวิถีชีวิตของกลุ่มคนที่พูดภาษาไท-กะได (Tai-Kadai Language Family) ครอบคลุมประเด็นแบบแผนการปกครองในอดีต ลักษณะการสร้างบ้านเรือน ลักษณะการแต่งกาย ระบบเศรษฐกิจ ระบบครอบครัวและเครือญาติ ภาษา ตัวอักษร ความเชื่อ พิธีกรรมสำคัญในชีวิต การนับถือผีบรรพบุรุษ ผู้นำในการประกอบพิธีกรรม

ไทดำในสิบสองจุไท ปี 2543 สุมิตร ปิติพัฒน์ ได้ศึกษาศาสนาและความเชื่อไทดำในสิบสองจุไท เก็บข้อมูลครอบคลุมประเด็นประวัติศาสตร์ความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำในแคว้นสิบสองจุไท ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนามติดชายแดนลาว ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะชุมชน บ้านเรือน ครอบครัว และพิธีกรรมต่างๆ

ไทแดง ปี 2545 สุมิตร ปิติพัฒน์, เทียมจิตร์ พ่วงสมจิตร์ และพิเชฐ สายพันธ์ ศึกษาสภาพชีวิตและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทแดงที่อำเภอบาเทื้อก จังหวัดแทงหัว

คณะผู้วิจัยได้สำรวจสภาพความเป็นอยู่ เศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของชาวไทแดงที่หมู่บ้านต้มและหมู่บ้านจ๋าง อำเภอบาเทื้อก จังหวัดแทงหัว โดยเก็บข้อมูลที่สำคัญ ดังนี้ 1) ความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์ไทแดงในเวียดนาม 2) การปกครองในอดีตของจังหวัดแทงหัว 3) สภาพชีวิตของไทแดง ประกอบด้วย ลักษณะบ้านเรือน การแต่งกาย การประกอบอาชีพ การแต่งงานและลักษณะครอบครัว อาหารและการต้อนรับผู้มาเยือน 4) ความเชื่อและพิธีกรรม ความเชื่อพื้นฐาน พิธีกรรมเกี่ยวกับชุมชน พิธีกรรมเกี่ยวกับชีวิต พิธีกรรมเกี่ยวกับการเพาะปลูก 5) ไทแดงกับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ความใกล้ชิดทางวัฒนธรรมของไทแดงกับกลุ่มชาติพันธ์อื่น พิธีกรรมกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

ไย้ ไต และเกาลาน ปี 2543-44 สุมิตร ปิติพัฒน์ พิเชฐ สายพันธ์ นาริสา เดชสุภา และเทียมจิตร์ พ่วงสมจิตร์ ได้ศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ไทในเวียดนามเหนือ ได้แก่ ไย้ (Giay) ไต (Tay) และเกาลาน (Cao Lan) เป็นการสำรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวไย้ ไต และเกาลาน ในจังหวัดเลากายและเอียนไบ การสำรวจครั้งนี้ได้ข้อมูลเบื้องต้นของจังหวัดเลากายและเอียนไบ สภาพภูมิศาสตร์ การปกครอง จำนวนประชากร กลุ่มชาติพันธุ์ ทรัพยากรธรรมชาติ การตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน ลักษณะทางกายภาพของถิ่นฐานที่อาศัย ประวัติความเป็นมาของชุมชน การตั้งถิ่นฐาน การประกอบอาชีพ การแต่งกาย การปกครองในอดีต คติความเชื่อ พิธีกรรมในรอบปีของชาวไย้ พิธีกรรมเกี่ยวกับชีวิต การเกิด การแต่งงาน และการตาย

ไทลื้อ ภาพถ่ายปี 2547 ไทลื้อ บ้านก่องิ้ว อำเภอถานเวียน จังหวัดไลโจว

ไทเมือง จ. เหง่อัน
ดื่มเหล้าจากอุ บ้านไทเมือง เหงอัน เวียดนาม
ไทเมือง กุยโจ เหงอัน
คนไต ฮาหยาง เวียดนาม
ชาวไตกำลังปักดำในนาที่จังหวัดฮายาง เวียดนาม
แม่มด ไทดำ ในหมู่บ้านเขตเมืองแถง เดียนเบียนฟู จ. เดียนเบียน
ไทดำ เมืองแถง (เดียนเบียน) เวียดนาม
ผู้หญิงไทดำกำลังเก็บเกี่ยวข้าวที่เมืองวาด เวียดนาม
ไทดำในสิบสองจุไท
พิธีเลี้ยงกินเหล้าไหรับแขกของไทแดง อ. บาเทื้อก จ. แทงหัว
ไทแดง เวียดนาม
Tai Tho (C. Tai), Yanbai, Vietnam.
มดลาวในชุดเครื่องแต่งกายสำหรับประกอบพิธีกรรมที่เมืองลอ จังหวัดเอียนไบ
นางดิง ถิ เหวือก อายุ 74 ปี (อายุในขณะนั้น) ภรรยาของพ่อเฒ่าหลี วัน ฮะ แต่งกายในชุดประจำเผ่าเกาลาน ที่ตำบลเดินเฮือง อำเภอเอียนบิงห์ จังหวัดเอียนไบ
ไตลื้อ เวียดนาม
เด็กชาวนุง
พ่อมดชาวไต (Tay) หรือโถ (Tho) ที่อาศัยอยู่ในเวียดนามตอนเหนือ