ทะเบียนวัตถุ: มธ.585/2535
ชื่อวัตถุ: โถพร้อมฝาลายคราม
อายุ: พุทธศตวรรษที่ 24-25
ศิลปะ: รัตนโกสินทร์
วัสดุ: เครื่องเคลือบ
ขนาด: สูง 14 ซม. สูงรวมฝา 26 ซม. ศูนย์กลางปาก 13.8 ซม.
สถาพ: ชำรุดลำตัวโถร้าว
ลักษณะ: โถลายครามพร้อมฝา ส่วนปากและลำตัวของโถมีสีพื้นเป็นสีขาวและเขียนลายสีน้ำเงินใต้ เคลือบ ฝาและลำตัวโถตกแต่งด้วยลายดอกโบตั๋นและลายก้านขด ลำตัวมีหู 4 หู ฝาจุกเป็นรูปสิงโตเคลือบสีน้ำเงิน โถลายครามเป็นที่นิยมในกลุ่มคนซึ่งอยู่อาศัยในแถบประเทศสิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นกลุ่มลูกครึ่งจีนกับมลายูที่มีวัฒนธรรมผสมผสานและสร้างวัฒนธรรมแบบใหม่เรียกว่า “เปอรานากัน” แปลว่า “เกิดที่นี่” ส่วนในภูเก็ตเรียกคนที่มีเชื้อสายจีนผสมกับคนพื้นเมืองว่า “บาบ๋า”
อ้างอิง: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ภูเก็ต สืบค้นเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 จากhttps://golink.icu/XG51sur