ชื่อวัตถุ: แก้วหลากสี (polychrome glass) รูปศีรษะบุคคล
อายุ: สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น
วัสดุ: แก้ว
ขนาด: กว้าง 4 ซม. สูง 4.8 ซม.
สถาพ: สมบูรณ์
ลักษณะ: แก้วหลากสีรูปศีรษะบุคคล พบบริเวณปากแม่น้ำโขงของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ทราบแน่ชัดว่าของชิ้นที่ขุดพบได้นี้ ผลิตขึ้นในที่แห่งใด? ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้? เหตุใดผู้สร้างจึงคิดประดิษฐ์ขึ้นเป็นรูปบุคคล จะเป็นรูปลักษณ์จำลองของคนพื้นถิ่นเอง หรือจะหมายถึงบุคคลต่างถิ่นห่างไกลที่เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายกับชุมชนในบริเวณนี้ จะเป็นเครื่องประดับ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพิธีกรรม? แก้วหลากสีชิ้นนี้ คือที่มาของสัญลักษณ์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และสัญลักษณ์พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อ้างอิง: สุดแดน วิสุทธิลักษณ์. 25 ปี พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ พ.ศ.2530-พ.ศ.2555. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้งเฮาส์, 2555.
สุดแดน วิสุทธิลักษณ์. จากแก้วหลากสี ถึง การเรียนรู้และทำความเข้าใจมนุษย์. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 จาก https://socanth.tu.ac.th/about/from- polychrome-glass-to-tu-soc-anth/