แนะนำหนังสือ วานรศึกษา : Primate Studies

378
views

I am a primate; nothing about primates is alien to me.

Earnest Albert Hooton (1887-1954)

American anthropologist and Primatologist.

หนังสือรวมบทความว่าด้วยการศึกษาวานร จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการ  “Primate and Me : เรียนรู้วานร เข้าใจมนุษย์”  ซึ่งจะเปิดให้เข้าชมในโอกาสครบรอบ 57 ปี คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดือนกุมภาพันธ์ 2565 นี้

หนังสือ “วานรศึกษา” ประกอบด้วยบทความจำนวน 8 บทความ โดยผู้ร่วมเขียนในสาขาวิชาที่เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาจากหลายสถาบัน โดยมุ่งหมายให้ผู้อ่านมองเห็นความกว้างขวางของแนวคิด ทฤษฎีและวิธีวิทยา รวมถึงข้อวิพากษ์วิจารณ์และเส้นทางอันยาวไกลของความสนใจศึกษาวานร 

จากการถูกจัดให้อยู่ใน “ลำดับที่หนึ่ง (Primate/Primus)” ของการจัดอนุกรมวิธาน มาสู่ความคิดว่าการศึกษาวานร เสมือนหนึ่งเป็น “กระจกสะท้อนที่ไม่คลุมเครือ” เนื้่องจากไม่มีม่านหมอกของ “วัฒนธรรม” เข้ามาปกคลุม วานรจึงเป็น “เครื่องมือ” สำหรับการทำความเข้าใจมนุษย์ และมาถึงปัจจุบัน ที่เราเองอาจกำลังสับสนกับความพยายามที่ต้องหันมานิยามความเป็นมนุษย์กันใหม่ ถ้าหากเรายังยืนยันว่า เราต่างจากไพรเมตอื่น

อ่านบทนำได้ที่นี่ บทนำวานรศึกษา

และ อ่านความหมายของปกที่ได้แรงบันดาลใจวานร ที่นี่ ความหมายและแรงบันดาลใจ

สำหรับหนังสือและบทความฉบับเต็มทั้ง 8 บทความ จะเริ่มเผยแพร่พร้อมกันในเดือนกุมภาพันธ์ ในโอกาสครบรอบ 57 ปี คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

** หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์โดย พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ร่วมกับ ห้องปฏิบัติการทางมานุษยวิทยากายภาพและชาติพันธ์วิทยา และฝ่ายงานวิจัยและบริการวิชาการแก่สังคม คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์