1เกรียงไกร-หน้ากาล

.ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ
รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

วัตถุ: หน้ากาล มธ.323.2535

หน้ากาลหรือเกียรติมุขเป็นประติมานวิทยาที่นิยมนำมาตกแต่งศาสนาสถานทั้งในฮินดูและพุทธศาสนา ทว่าหน้ากาลที่เก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ คือ หน้ากาลที่เคยตกแต่งบนองค์เจดีย์พุทธศาสนา ซึ่งมีความหมายว่ากาลเวลาเป็นสิ่งหนึ่งที่เฝ้ากลืนกินสรรพสิ่ง แม้กระทั่งตัวมันเอง และเป็นสัจจะนิรันดร์ทว่าหน้ากาลชิ้นนี้ได้นำมาเก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์ที่มีเป้าหมายในการยื้อยุดมิให้กาลเวลาทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ด้วยเป้าหมายของการเป็นวัตถุทางวัฒนธรรมสำหรับการเรียนรู้ด้วนสถานะนี้ หน้ากาลชิ้นนี้ จึงมีความหมายที่ย้อนแย้ง ด้วยกำลังถูกยื้อยุดมิให้เปลี่ยนแปลงภายใต้ความหมาย และภายในสถานพิพิธภัณฑ์ที่ทำหน้าที่บนความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ด้วยกำลังท้าท้ายสัจธรรม ฤาความรู้จักอยู่เหนือกาลโปรดจงเฝ้าดู

2เชนทร์-ไม้นวด

เชนทร์ ชมโท
ศิษย์เก่าคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

วัตถุ: ไม้นวด มธ.1629/2535

เราต่างก็มีความทะลึ่งอยู่ในตัวไม่มากก็น้อย
“Everyone have some level of cheekiness.’

3เทียมสูรย์-อังก๋วยท้อ

ผศ.ดร.เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์
อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

วัตถุ แม่พิมพ์ไม้ขนม (อังก๋วยท้อ)  มธ.1678/2535

ขนมอังก๋วยท้อเป็นขนมที่แม่ผมชอบ พอเห็นแบบพิมพ์ก็รู้สึกคุ้นเคย และโดยส่วนตัวผมชื่นชอบเรื่องของอาหารการกินด้วย

4กมลวรรณ-ที่สูบฝิ่น

กมลวรรณ ตันติวิวัฒน์วงศา
นักศึกษาคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

วัตถุ: ที่สูบฝิ่น

ความลับของอดีตปัจจุบันไม่สามารถพบเห็นได้ ถึงแม้เป็นสิ่งที่ผิด แต่มันก็น่าหลงใหล
“Secret of the past… that can’t be seen. It is wrong but still fascinating.”

5วีระพัฒน์-กลอง

นายวีระพัฒน์ ภูมิจันทร์
พนักงานขับรถ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

วัตถุ: กลอง  มธ.2223/2535

ชื่นชอบสิ่งที่ก่อให้เกิดจังหวะ
“I like things that create rhythm.”

6เหมือนพิมพ์-ปิ่นโต

เหมือนพิมพ์ สุวรรณกาศ
นักวิชาการศึกษาปฎิบัติการ
ประจำพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

วัตถุ: ปิ่นโต มธ.1325/2535

ปิ่นโตคือความผูกพันของฉันในวัยเยาว์และแรกเข้าทำงานที่พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติแห่งนี้
Pinto (food carrier) was my youth and first relationship I had when I started working in this Thammasat Museum.”

7ศราวลี-หมาน้ำ

ศราวลี ชัยทองสกุล
เจ้าหน้าที่กองบริหาร ศูนย์รังสิต, หนึ่งในทีมงานขนย้ายวัตถุจากอาคารเดือน บุญนาค มาไว้ยังพิพิธภัณฑ์ธรรมศษสตร์เฉลิมพระเกียรติ

วัตถุ: หมาน้ำ (หมาตักน้ำ ภาษาใต้) มธ.1441/2535

ตอนเด็กยายใช้ให้ไปเอาหมา เราก็ไปอุ้มหมา(สุนัข) มาให้ ซึ่งที่จริงแล้วยายอยาดได้หมกน้ำ

8เบญญา-ชุดน้ำชา

เบญญา เกริกอิทธิพล
นักศึกษาคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

วัตถุ: ชุดน้ำชาลายจีน  มธ.451/2535

ที่บ้านเป็นคนจีน ชุดน้ำชาแบบนี้เคยเห็นติดตัวมาแต่งเด็ก

9อารีรัตน์-หนังสือนวนิยาย

อารีรัตน์ ปานจับ
นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

วัตถุ: หนังสือนวนิยาย เรื่อง บุตรสาวนายพันตรี  มธ.4301/2535

หนังสือคือเพื่อนที่ดีที่สุด ช่วยให้เรารู้จักโลกกว้างในราคาถูก

10สุพศิน-ตะเกียง

สุพศิน พรรณรังสี
นักศึกษาคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

วัตถุ: ตะเกียง มธ.1952/2535

ตะเกียงแสงสว่างแห่งอนาคต
“Lamp….luminescence of the future”

11พันธุ์พิสุทธิ์-ครก

พันธุ์พิสุทธิ์ นุราช
นักบิน .เอกชน, ศิษย์เก่าคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา รหัส 52

วัตถุ: ครก มธ.233/2535

เมื่อประกอบอาหารให้อิ่มท้อง อาหารสมองจะเดินต่อได้
“Once we filled our belly with food, then our brain can chew and process.”

12พาฝัน-ไนปั่นฝ้าย

พาฝัน ปั้นลาย
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

วัตถุ: ไนปั่นฝ้าย มธ.2342/2535

ฉันผูกพันกับผ้าตั้งแต่เด็ก เพราะแม่มีอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้า

13ยงยศ-หนังตะลุง

ยงยศ ยืนยง
นักศึกษาคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

วัตถุ: หนังตะลุง  มธ.3116/2535

หนูเป็นคนใต้ เคยใกล้ชิดและผูกพันกับหนังตะลุง เพราะตอนเด็ก ปู่กับย่าจะพาไปดูหนังตะลุงที่มาแสดงในหมู่บ้าน คนในหมู่บ้านเอาเสื่อมานั่งปูดูหนังตะลุงแล้วมีความสุข

“I come from the South and I have closely experience and was related to Nung Talung. This was because when I was little, my grandparents took me to see Nung Talung show in our village. Villagers would gather and sit on the mat to watch and enjoy the show.”

14อุรฉัตร-กระทะทองเหลือง

อุรฉัตร อุมาร์
นักวิชาการศึกษาปฎิบัติการ ประจำพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

วัตถุ: กระทะทองเหลือง มธ.1108/2535

เวลาได้ลิ้มรสความหอมหวานของขนมไทย ทำให้หวนนึกถึงความทรงจำในวัยเด็ก

15ชนิดา-ตระกร้าสาน

ชนิดา ชิตบัณฑิต
อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

วัตถุ: ตะกร้าสาน

ตะกร้า คือภาพสะท้อนชีวิต ตัวตน ความรู้และพื้นที่ของผู้หญิงค่ะ

16จูนจิรา-กล้องโบราณ

จูนจิรา ผดุงไชย
ศิษย์เก่าคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

วัตถุ: กล้องโบราณ

CAPTION IS CAPTURE, CAPTURE JUST “ACTION”

17ฐิติชญา-ตู้จำหน่ายตั๋ว

ฐิติชญา ทรัพย์สมาน
นักศึกษาคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

วัตถุ: ตู้จำหน่ายตั๋ว  มธ.5090/2535

หนูชอบเดินทางด้วยรถไฟอยู่แล้ว พอเห็นตู้จำหน่ายตั๋วจึงรู้สึกประทับใจมาก เพราะที่ผ่านมาเคยเห็นแต่คนจำหน่ายตั๋วค่ะ

18วินิจ-หม้อบ้านเชียง

ดร.วินิจ วินิจนัยภาค

ที่จริง นิสัยรักสะสมของผมติดตัวมาแต่เด็ก เป็นงานอดิเรกของผม แต่เป็นงานอดิเรกที่เอาจริง

“Actually, I have this habit of collecting things since I was a kid. I was my hobby and it was my serious hobby”

19ศตพร-ซอด้วง

ศตพร ลิมปะพันธุ์
นักศึกษาคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

วัตถุ: ซอด้วง มธ.1660/2535

รู้สึกผูกพันกับซอด้วง เพราะเล่นตั้งแต่ชั้นประถม และเคยชนะเลิศแข่งประกวดซอชิงถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาด้วย

“I feel closely related treble fiddle as I’ve been playing it since primary school. I’ve once won the first prize in a treble fiddle competition for Royal Trophy from HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn.”

20ปวีณา-กล้อง

ปวีณา บุลสถาพร
พนักงานบริษัททัวร์, ศิษย์เก่าคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา รหัส 53

วัตถุ: กล้อง มธ.5272/2535

อุปกรณ์ที่ดีที่สุดในการเก็บภาพ คือดวงตาของเรา

“The best tool for taking pictures is our eyes.”

21จิตราภรณ์-โอ่ง

จิตราภรณ์ ทองตรี
แม่บ้านประจำพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ (11 ปี)

วัตถุ: โอ่ง  มธ.335/2535

เมื่อก่อนใช้เก็บน้ำฝนไว้ดื่ม จะมีผ้าขาวบางกรองปากโอ่งอีกที ส่วนโอ่งมังกรจะเอาไว้ใช้อาบ

22ธมากร-ณภค-กระดานชนวน

..ธมากร เตพลากุล อายุ 7 ปี
..ณภค เตพลากุล อายุ 6
ปี
นักเรียน

วัตถุ: กระดานชนวน มธ.2464/2535

กระดานชนวนเอาไว้ใช้เขียน ต่อมากระดาษและเหมือนไอแพด

“Slate can be used for writing, and then we use paper and later the iPad.”

23ธีระ-ปากกาคอแร้ง-ถาดรองหมึก

ผศ.ดร.ธีระ สินเดชารักษ์
อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

วัตถุ: ชุดเครื่องเขียน (ปากกาคอแร้ง+ถาดรองหมึก) มธ.2445/2535

จะกี่ยุคกี่สมัย เก้าอี้ตัวนี้คือโอกาสหยาดน้ำหมึกจากปลายปากกาคือความรับผิดชอบดังนั้นสำหรับผมคนกับของสัมพันธ์กันในเชิงหน้าที่ครับ
“No matter how long has the time passed, this chair is ‘opportunity’, ink from the pen is ‘responsibility’; therefore, for me, people and things are related by their ‘duty’

24ธูปทอง-กำไลเปลือกหอย

ธูปทอง เลี่ยมสุวรรณ
นักสารคดีอิสระ

วัตถุ: กำไลเปลือกหอย มธ.302/2534

เห็นแล้วรู้สึกว่ามีชีวิต และรู้ด้วยว่าเขาคือผู้หญิง

25ณัฐดนัย-กบไสไม้

ณัฐดนัย อินต๊ะภา
นักวิชาการพัสดุ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

วัตถุ: กบไสไม้  มธ.1804/2535

ก๋บไสไม้เป๋นของสล่าไม้ ต๋อนอยู่น่านเกยแย้งป้อย่ะ
กบไสไม้เป็นของสล่าไม้ (ช่างไม้) ตอนเด็กอยู่น่านเคยแย่งพ่อทำ

“Planer is a Salamai (carpenter)’s tool. When I was a kid and lived in Nan, I used to help my dad work.”

26ทายาท-อานม้าสาน

ทายาท เดชเสถียร
ผลิตรายการหนังพาไป

วัตถุ: อานม้าสาน  มธ.2233/2535

น้อยคนนักที่จะได้เดินทางท่องโลกเฉกเช่นอานม้า หากพูดได้มันคงอยากบอกเล่าเรื่องราวแดนต่างๆที่ได้ไปมา
“Very few people have to travel this world as saddle has. If it could talk, it’d want to tell us the story of places that it has visited.”

27บุญเลิศ-ไซ

ดร.บุญเลิศ สุขปรีชา
อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (นักมานุษยวิทยา สายสตรีท)

วัตถุ: ไซ  มธ.1432/2535

ผมนักมานุษยวิทยา สายสตรีท แต่ผมเรียนประมงนะคร้าบบบบบบ
“I’m a street-wise anthropologist but I’m majoring in Fisheries.”

28ประกายรัตน์-แปม

ประกายรัตน์ เตรียมล้ำเลิศ
นักศึกษาคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

วัตถุ: แปม มธ.2035

มันมีความคิดถึงและผูกพัน เมื่อคร่าวไปค่ายสร้างที่เชียงราย เคยเห็นแม่ที่โน้นเขาใส่แปมเวลาไปเก็บพริก
“It reminds me of the relationship. Once I’ve participated in camp at Chiang Rai, I’ve seen the people there put on Pam to harvest chili.”

29ปริตตา-ปั้นชา

ดร.ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล
อดีตอาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

วัตถุ: ปั้นชา  มธ.592/2535

รินน้ำชาส่งให้ รินน้ำใจส่งไมตรี
อนิจจาชารสดี มีประวัติภาคโหดร้าย
รสเลิศแลกรสเลือด แลกเงินตรากับความตาย
เสพชาหาความหมาย ตามแบบเราชาวมานุษย์

“Pouring down some tea Pouring you some hospitalities
Dear me such tasty tea Has such a vicious history
Trading supremacy taste with blood Trading currency with death
Drinking tea for connotation As we the Anthropologists do.”

30พรนภัส-อูบ

พรนภัส วงศ์วิวัฒน์
นักศึกษาคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

วัตถุ: อูบ  มธ.1320/2535

อูบเป็นที่ใส่อาหารและดอกไม้ถวายพระ ที่บ้านปลูกฝังให้เข้าทำบุญแต่เด็ก พอเห็นของจึงเลือกสิ่งนี้เพราะตรงกับหนูค่ะ
“Tiab is a tray that contains food and flower for offering to the monk. My family indoctrinated me in merit making since I was a kid. Therefore, I picked this piece once I saw it because it matched my story.”

31ประไพวรรณ-กระบุงใส่ข้าว

ประไพวรรณ มากระจันทร์
นักวิชาการพัสดุ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

วัตถุ: กระบุงใส่ข้าว

เป็นความทรงจำตั้งแต่เด็ก เมื่อไปบ้านยายจะเห็นชาวบ้านญาติพี่น้องร่วมกันเกี่ยวข้าวและเก็บข้าวเปลือก

32ปิ่นเพชญ์-ไหบ้านเชียง

ปิ่นเพชญ์ ทองวิเศษ
นักศึกษาคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

วัตถุ: ไหบ้านเชียง มธ.71/2534

ไหนี้ถูกค้นพบที่บ้านเชียง และหนูเป็นคนอุดรธานี จึงอยากนำเสนอของที่เป็นบ้านเกิดของตัวเองค่ะ

“This jar was found at Ban Chiang Heritage. As I come from Udon Thani, so I wish to present story of my hometown.”

33พจนก-กระต่ายขูดมะพร้าว

ผศ.ดร.พจนก กาญจนจันทร
อาจาย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

วัตถุ: กระต่ายขูดมะพร้าว  มธ.1638/2535

เลือกกระต่ายขูดมะพร้าวเพราะทำให้นึกถึงตอนเป็นลูกมือครัวให้กับแม่ และยังได้เล่นในขณะทำครัวอีกด้วยค่ะ
“I choose coconut grater because it reminds me of the time when I helped my mom in the kitchen, or more likely, played in the kitchen.”

34พิเชฐ-กระบุง

ผศ.ดร.พิเชฐ สายพันธ์
อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

วัตถุ: กระบุง   มธ.1418/2535

กระบุง: มีรากศัพท์ร่วมกับคำ Gargung ในภาษาออสโตรนีเซียน หมายถึง การประสานรวมเข้าด้วยกัน จึงเป็นเครื่องจักสานที่เป็นตัวแทนการประสานอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ใช้ได้ทั้งใส่สิ่งของที่อยากเก็บจนถึงของที่อยากทิ้ง

Grabung (Basket) shares its root with the word ‘Gargung’ in the Austronesian Language, which means ‘knitting together’. Basket hence represents co-habitation of human. It can be used to hold something you want to keep, to something you want to get rid of.”

35พิศาล-รากไม้

พิศาล แสงจันทร์
ผลิตรายการหนังพาไป

วัตถุ: รากไม้(มงคล)  มธ.3912/2535

มองแล้วเกิดจินตนาการว่าคือรูปอะไร

36อัญณิการ์-ตราชั่ง

อัญณิการ์ มหาผลประเสริฐ
นักวิชาการศึกษาชำนาญการ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

วัตถุ: ตราชั่ง  มธ.2369/2535

ตราชั่ง: ตราชูแห่งความยุติธรรม

37จิณห์วรา-เกราะ

จิณห์วรา จิตต์ภักดี
พนักงานโอนเงินต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพ และคศิษย์เก่าคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

วัตถุ: เกราะ มธ. 2227/2535

ตีเกราะเคาะเรียก เสียงซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการรวมตัว พลังเสียงของฉัน ก็เคยทำหน้าที่แทนเสียงของเกราะไม้ เพื่อเป็นสัญญาณเริ่มการชุมนุมของพวกเราชาวอาศรมสังคมวิทยาแห่งนี้

“Sounding the clapper – the sound that calls for an assembly. My voice once served instead of the sound from wooden clapper, in order to signal the assembly of members of this Sungkomvittaya Hermitage.”

38กฤตวัฒน์-ลูกคิด

กฤตวัฒน์ โกมลวรวิทยา
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

วัตถุ: ลูกคิด มธ.2487/2535

ที่บ้านมีอาชีพค้าขาย จึงเห็นพ่อใช้ลูกคิดมาแต่เด็ก ซึ่งพ่อจะใช้เพียงแค่ลูกคิดและนับนิ้วเท่านั้น

“My family is a merchant and I saw my dad use abacus since I was little. Dad only uses abacus and finger counting.”

39สายพิณ-ผ้าเช็ดหน้าหาเสียง

.ดร.สายพิณ ศุพุทธมงคล
อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

วัตถุ: ผ้าเช็ดหน้าหาเสียง จอมพลป.พิบูลสงคราม มธ.5396/2535

เรามาทวงสัญญา อย่าให้เวลาเนิ่นนาน

40สุดแดน-เขากวาง

ผศ.สุดแดน วิสุทธิลักษณ์
อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

วัตถุ: สัตว์สต๊าฟ (เขากวาง) มธ.4684/2535

พิพิธภัณฑ์ทำให้ซาก มีชีวิตที่อมตะ
“Museum gives immortality to the remains.”

41สุมมนันท์-กระเป๋าเดินทาง

42ปาจรีย์-หุ่นไทย

ปาจรีย์ ทองเสม
นักศึกษาคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

วัตถุ: หุ่นไทย มธ.2894/2535

ของชิ้นนี้ทำให้นึกถึงชีวิตของคนเรา ที่หลายครั้งเราถูกชักถูกเชิดให้เคลื่อนไหวไปตามความคาดหวัง ความต้องการของคนอื่น จนสุดท้ายตัวเราก็เปรียบเสมือนหุ่นที่คอยรับใช้อย่างไร้ปัญญา

43อนุสรณ์-เชี่ยนหมากทองเหลือง

ผศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ
คณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

วัตถุ: เชี่ยนหมากทองเหลือง   มธ.1214/2535

นบีไม่กินหมากผมได้ศึกษาวิถีชีวิตของชาวมลายูมุสลิมในประเทศไทย และเรื่องหมากพลูถือเป็นอีกหนึ่งวัฒนธรรมของพวกเขา

“The prophet who doesn’t chew the betel nut… I have studied the lifestyle of Malay Muslim in Thailand, and betel nut chewing is part of their culture.”

44อรอุมา-เครื่องพิมพ์ดีด

อรอุมา ส้มไทย
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป คณะสัคมวิทยาและมานุษยวิทยา

วัตถุ : เครื่องพิมพ์ดีด

ต้นกำเนินคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณณ์สำนักงานชิ้นแรกๆ เลย
“Computer’s origin, it was among the first office equipments.”

45ณัฐสุดา-ณัฐสุภา- กระเป๋าเดินทาง

ณัฐสุดา ชยาธารรักษ์
ณัฐสุภา
ชยาธารรักษ์
นักศึกษาคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

วัตถุ: กระเป๋าเดินทาง  มธ.2353.2535

ณัฐสุดาหนูเป็นคนชอบเที่ยวกับคุณพ่อ พ่อจะชอบเล่าเรื่องเก่าๆ และส่วนตัวก็ชอบอะไรที่ย้อนยุคด้วยค่ะ

ณัฐสุภาส่วนตัวเป็นคนชอบเที่ยวค่ะ ชอบกลิ่นอายของยุค 70 ค่ะ

“I love traveling with my father. My father enjoys telling me old stories, and I personally do enjoy retrospective things.”

“Personally I love to travel, and atmosphere of the 70.”

46อัยยรัช-สุ่ม

อัยยรัช นิตย์กระโทก
นักศึกษาคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

วัตถุ:  สุ่ม มธ.2325/2535

ผมเป็นคนอำเภอลำปลายมาศ .บุรีรัมย์ มีลำน้ำมาศไหลผ่านไปสู่ลำน้ำมูล สุ่มจึงเป็นภาพตัวแทนของคนริมลำน้ำได้ครับ

“Buriram has Mat Canal which flows into the Mun River. I come from Lam Plai Mat Municipality. “Coop is a representative of the people who live on the river banks.”

47ฐาปนพงศ์-หัวระเบิด

ฐาปนพงศ์ ยี่ขุน
รองประธานนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต คนที่ 2 และนักศึกษาคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

วัตถุ: หัวระเบิดสมัยสงครามโลก มธ.4693.2535

สงครามมีราคาแพง แต่สันติภาพมีราคาแพงกว่า
“War is expensive but peace is much more expensive.”

48พิชญา-หีบไม้

พิชญา จุลวุฒิ
นักศึกษาคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

วัตถุ: หีบไม้ (สำหรับใส่เสื้อผ้า) มธ.2359/2535

การใช้ชีวิตก็เหมือนการเก็บของ ถ้าเราจัดให้เป็นระเบียบ เราก็จะใช้มันง่ายขึ้น

“Living is like storing things. The tidier you keep your things, the easier they can be used.”

49วิลาสินี-โทรศัพท์โบราณ

.ดร.วิลาสินี พนานครทรัพย์
อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

วัตถุ: โทรศัพท์โบราณ มธ.5091/2535

“Love and intimacy in online…เมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยน ความรักก็เปลี่ยนเช่นกัน

50วริศรา-ชุดน้ำชา

วริศรา ศิริชานนท์
นักศึกษาคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ชั้นปีที่ 2

วัตถุ: ชุดน้ำชา มธ.452/2535

ตอนเด็กๆ อาม่าจะชงน้ำชาตอนเช้าๆ พอได้กลิ่นก็จะรู้ว่าได้เวลาตื่นไปเรียนแล้วค่ะ

51อิสรชัย-มกร

อิสรชัย บูรณะอรรจน์
นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร

วัตถุ: มกร

มกร องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ประดับปลายสุดของหลังคา มีแค่ในพิพิธภัณฑ์เท่านั้นที่เราสามารถพินิจรายละเอียดอันวิจิตรได้อย่างใกล้ชิด

52จุติวุฒิ-วิทยุดอกลำโพง

จุติวุฒิ วงศ์ข้าหลวง
นักวิจัย ศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุข สวัสดิการและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

วัตถุ: วิทยุดอกลำโพง  มธ.5109/2535

ที่เลือกเครื่องเล่นแผ่นเสียง เพราะว่าตอนเด็กๆ ผมมักจะไปอาศัยอยู่ที่บ้านน้าบ่อยๆ ช่วงปิดเทอมฤดูร้อน ในห้องหนี่งมีเครื่องเล่นแผ่นเสียง ความรู้สึกของผมตอนนั้นคือ อยากลองฟังมันสักครั้ง แต่ไม่กล้าที่จะเข้าไปเล่น กลัวว่าเราจะทำมันพังและมันจะใช้งานไม่ได้อีก เมื่อการเดินทางไปอย่างต่อเนื่อง เทคโนโลยีการฟังก็พัฒนาไปผมเริ่มใช้หูฟังที่พกพาง่าย ยุคสมัยเปลี่ยนไปแต่แทบไม่มีใครรู้ว่าเราฟังอะไรอยู่

53ไกรวิชญ์-ตุ่มใส่น้ำ

ไกรวิชญ์ ชนิลกุล
นักศึกษาคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

วัตถุ: ตุ่มใส่น้ำ มธ.164/2535

โดยส่วนตัวเราเป็นคนขี้ร้อน เราอาบน้ำวันหนึ่งไม่ต่ำกว่า 3-5 ครั้ง การได้อาบน้ำกับตุ่ม มันเป็นอีกความรู้สึกหนึ่งที่แสดงถึงวิถีชีวิตที่เรียบง่ายที่เราไม่ได้สัมผัสมานาน

“Personally I’m sensitive to heat and will take a bath around 3-5 times a day. Taking a bath from water jar gives us the feeling of simplicity that we haven’t felt for a very long time.”