“ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ
และฉันขอปฏิญาณว่า นบีมูฮัมหมัดคือศาสนทูตของพระองค์”

(คำปฏิญาณตนของมุสลิม)


คำกล่าวข้างต้นเป็นการยืนยัน ยอมรับ และยึดมั่นที่จะเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺเพียงผู้เดียว และยอมรับว่านบีมูฮัมหมัด เป็นศาสนทูตของพระองค์ ผู้ที่ประสงค์จะเข้ารับอิสลาม จึงต้องเริ่มด้วยจิตใจที่มีศรัทธา จากนั้นจึงกล่าวประโยคปฏิญาณดังกล่าว

“อัลลอฮฺ”  พระนามเฉพาะของพระเจ้า หมายถึง พระนามของพระผู้เป็นเจ้าแห่งสากลจักรวาล
ในศาสนาอิสลามนับถืออัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้น ทรงเป็นผู้สร้าง ทรงเป็นผู้ควบคุม
ทรงเป็นผู้ดูแล และทรงเป็นผู้ประทานสรรพสิ่งทั้งหลาย

ขอความสันติจงมีแด่ท่าน

โลกมุสลิม

ในปี 2563 ประชากรมุสลิมมีประมาณ 1.9 พันล้านคน อาศัยอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง เช่น อิรัก อิหร่าน ซาอุดิอาระเบีย โอมาน ซีเรีย กาตาร์ ฯลฯ เอเชียกลาง เช่น เติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน และเอเชียใต้ เช่น อัฟกานิสถาน ปากีสถาน อินเดีย บังกลาเทศ มัลดีฟส์ ฯลฯ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน ไทย เมียนมาร์ ทวีปแอฟริกา เช่น อียิปต์ ซูดาน โมร็อกโก แอลจีเรีย ฯลฯ

ศาสนาอิสลาม

“มุสลิม” คือ คำที่ใช้เรียกผู้ที่นับถือศาสนาอิิสลามและนำมา เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต มุสลิม จึงหมายถึง ผู้นอบน้อม ตนต่ออัลลอฮฺ ศาสนาอิสลาม มีหลักคำสอนที่ใช้ปฏิบัติตั้งแต่เกิดจนสิ้น ลมหายใจ โดยเริ่มจาก “หัวใจ” ที่ศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว นำไปสู่การแสดงออกทางกาย และการปฎิบัติตนใน ชีวิตประจำวันอย่างเคร่งครัด มุสลิมมีบทบัญญัติที่จะต้องยึดมั่น คือ หลักศรัทธา 6 ประการ และหลักปฏิบัติ 5 ประการ

ศักราชของอิสลามใช้คำว่าฮิจเราะห์ศักราช

อักษรย่อ “ฮ.ศ.” คำว่า ฮิจเราะห์ หมายถึง “การอพยพ” เริ่มนับ ฮ.ศ.ที่ 1 ในปีที่นบีมูฮัมหมัด และผู้ติดตามอพยพจาก เมืองมักกะห์ สู่เมืองมะดีนะห์ หลังจากที่นบีมูฮัมหมัดเสียชีวิต ผู้ปกครองอาณาจักรอิสลามปรึกษากันว่าควรมีการเริ่มศักราชของอิสลาม  โดยมีมติให้นับปีที่นบีมูฮัมหมัดอพยพมายังเมืองมะดีนะห์ เพราะถือว่าเป็นปีที่มีความสำคัญในการเริ่มแผ่ขยายการเผยแพร่ศาสนาอิสลามจนประสบความสำเร็จ และมีผู้นับถือศาสนาอิสลามเป็นจำนวนมากในเวลาต่อมา

การเทียบ “พุทธศักราช”  กับ “ฮิจเราะห์ศักราช” พ.ศ.= ฮ.ศ.+1122

หลักศรัทธา 6 ประการ

ศรัทธาต่อพระเจ้าองค์เดียว
อัลลอฮฺ

ศรัทธาต่อบรรดา
มลาอิกะฮฺ เทวฑูต

ศรัทธาต่อคัมภีร์ของอัลลอฮฺ
อัลกุรอาน

ศรัทธาต่อบรรดาศาสนฑูต
นบีมูฮัมหมัด

ศรัทธาต่อวันสิ้นโลก
พิพากษาความดี-ชั่ว

ศรัทธาต่อกฎแห่งการกำหนดสภาวะการณ์
อัลลอฮฺเป็นผู้กำหนด

คัมภีร์อัลกุรอาน

คัมภีร์อัลกุรอานภาษาอาหรับ
พิมพ์ที่เมืองดามัสกัส ประเทศซีเรีย ฮ.ศ.1425 (พ.ศ.2547)

คัมภีร์อัลกุรอานภาษาอาหรับ ซึ่งรวบรวมดำรัสของอัลลอฮฺประทานแก่นบีมูฮัมหมัด จำนวน 114 บท (ซีเราะห์) 30 ภาค (ยุซ) 6,236 โองการ (อายะห์) ซึ่งนบีมูฮัมหมัดใช้วิธีการท่องจำและสั่งให้อาลักษณ์บันทึกลงในสมุดที่ทำด้วยหนังสัตว์ ก่อนคัดลงกระดาษในสมัยต่อมาเนื้อหาคัมภีร์อัลกุรอานครอบคลุมทุกเรื่องราว หลักการศรัทธาต่ออัลลอฮฺ ครอบครัว ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์ เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ การแพทย์ สาธารณสุข การเมือง การปกครอง ฯลฯ มุสลิมใช้คัมภีร์อัลกุรอานเป็นธรรมนูญสูงสุด ในการดำเนินชีวิต และใช้ในการปฏิบัติศาสนพิธี

หลักปฎิบัติ 5 ประการ

การปฏิญาณตน

ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ นบีมูฮัมหมัดคือ ศาสนทูตของพระองค์ การละหมาด วันละ 5 เวลา คือ

การแสดงความเคารพ

การรำลึกถึงอัลลอฮฺ วิงวอนขอพร และขออภัยโทษ เป็นสิ่งที่มุสลิมต้องปฏิบัติตาม

การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน

งดการกิน ดื่ม มีเพศสัมพันธ์ การงดเว้น ความชั่วทางกาย วาจา ใจ ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น จนถึงดวงอาทิตย์ตกดิน

การจ่ายซะกาต

บริจาคทานประจำปีให้ผู้ที่ขาดแคลน

การประกอบพิธีฮัจญ์

คือ การเดินทางไปประกอบศาสนกิจที่นครมักกะฮฺ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ถือเป็นภารกิจหลักที่มุสลิมทุกคนที่มีความสามารถ ทั้งสภาพร่างกายและมีความพร้อมด้านทรัพย์สินต้องปฏิบัติ

การละหมาด

การละหมาด ถือเป็นการแสดงความเคารพ เข้าเฝ้านอบน้อม ขอบคุณ การขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ และตั้งมั่นอยู่ในวิถีแห่งความดีไม่ให้กระทำชั่วผิดบาป การละหมาดแบ่งเป็น 2  ประเภท คือ

ละหมาดฟัรดู
ต้องปฏิบัติทุกวัน วันละ 5 เวลา

ละหมาดสุหนัต
เป็นการละหมาดเนื่องในเวลาและโอกาสต่างๆ นอกเหนือ จากการละหมาดฟัรดู

ชาวมุสลิมจะหันหน้าไปทางทิศกิบลัต คือ นครมักกะฮฺ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นที่ตั้งอาคารกะอฺบะฮฺ เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวกัน มุสลิมในประเทศไทยจะหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ก่อนการละหมาด ร่างกาย เครื่องนุ่งห่ม สถานที่ละหมาด ต้องสะอาด มีการอาบน้ำละหมาดตามขั้นตอนโดยล้างมือ บ้วนปาก ล้างหน้า หู แขน และเท้า ตามลำดับ

ก่อนการละหมาดแต่ละครั้ง
จะมีเสียงประกาศแจ้งเตือนเป็นการเชิญชวนว่าถึงเวลาละหมาด เรียกว่า “อาซาน”

อัลลอฮฺผู้ทรงเกรียงไกร
ข้าขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ
ข้าขอปฏิญาณว่า นบีมูฮัมหมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺ
จงละหมาดพร้อมๆ กันเถิด
จงมาสู่ชัยชนะกันเถิด
อัลลอฮฺผู้ทรงเกรียงไกร
แน่แท้ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ

มุสลิมจะต้องละหมาดวันละ 5 เวลา

ซุบหฺ             รุ่งอรุณก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น (05.00 น.)
ดุฮฺริอฺ            ดวงอาทิตย์คล้อยจากศีรษะ (12.00 น.)
อัสริอฺ            ก่อนดวงอาทิตย์ตกดิน (15.30 น.)
มักริบ            ดวงอาทิตย์ตกดิน (18.00 น.)
อิชา               เวลายามค่ำคืน (19.30 น)

เวลาละหมาดที่ชัดเจนจะกำหนดไว้ในปฏิทินอิสลาม เช่น วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม 2566 จังหวัดปทุมธานี จะละหมาดตามเวลา ต่อไปนี้

ซุบหฺดุฮฺริอฺอัสริอฺมักริบอิชา
04:5112:2115:3018:3719.46

อาหารฮาลาล ไม่ใช่แค่ไม่มีหมู

ฮาลาล คือ อนุมัติ ฮารอม คือ ต้องห้าม

“อาหารฮาลาล” คือ อาหารที่คนมุสลิมบริโภคได้ ไม่ใช่แค่อาหารไม่มีหมู แต่ยังมีรายละเอียดอื่นๆ ที่สอดคล้องตามหลักการของศาสนา ตั้งแต่การเชือดสัตว์ การแปรสภาพ การปรุง และภาชนะใส่อาหารต้องไม่ปนเปื้อนของฮารอม ต้องไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นการรับประกันว่ามุสลิมสามารถรับประทานอาหารและเครื่องดื่มนี้ได้

“ฮารอม” คือ สิ่งต้องห้าม อาหารและเครื่องดื่มที่เป็นฮารอม คือ ซากสัตว์ สัตว์ล่าเหยื่อที่มี เขี้ยวเล็บ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำหรือสัตว์ที่ตายเอง เลือดของสัตว์ทุกชนิด สัตว์ที่เชือดโดยไม่กล่าวนามของอัลลอฮฺ์ อาหารที่ใช้ในการเซ่นไหว้และบูชายัญ

แม้จะเป็นสัตว์ที่บริโภคได้ จะต้องผ่านการเชือดอย่างถูกวิธีตามหลักศาสนา เพื่อให้ได้เนื้อสัตว์ ที่ฮาลาล

  • ผู้เชือดต้องนับถือศาสนาอิสลาม
  • สัตว์ที่จะเชือดต้องเป็นสัตว์ที่รับประทานได้ตามหลักศาสนาอิสลาม
  • สัตว์ที่จะเชือดต้องไม่ปะปนกับสัตว์ต้องห้ามในระหว่างขนส่ง
  • ไม่มีการทรมานสัตว์ก่อนการเชือด อุปกรณ์ต้องเป็นของที่มีความคม และไม่ได้ทำมาจาก เล็บและกระดูก
  • ให้ผู้เชือดกล่าวนามอัลลอฮฺขณะเริ่มทำการเชือด โดยไม่ทรมานสัตว์

ฮาลาล เป็นภาษาอาหรับ แปลว่า “อนุมัติ”
เพื่อบ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์นั้น เป็นอาหารที่มุสลิมบริโภคได้

อินทผาลัม

เป็นผลไม้ที่ถูกกล่าวถึงใน “คัมภีร์อัลกุรอาน” ในช่วงเดือนรอมฎอน หรือเดือนแห่งการถือศีลอด ชาวมุสลิมจะนิยมรับประทาน “อินทผาลัม” เป็นสิ่งแรกในการละศีลอด ดังคำกล่าวที่ว่า “หากในหมู่สูเจ้า มีผู้ถือศีลอด เขาจงละศีลอดด้วยอินทผาลัมเถิด หากไม่มีมัน (อินทผาลัม) จงดื่มน้ำ แท้จริงน้ำนั้นเป็น สิ่งช่วยชำระร่างกาย” คำกล่าวโดยท่านศาสดานบีมูฮัมหมัด ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าอินผาลัมเป็นผลไม้ ที่อุดมไปด้วยน้ำตาล ไขมัน โปรตีน และวิตามินสำคัญ ที่เป็นประโยชน์และจำเป็นต่อร่างกาย โดยเมื่อได้รับประทานไปแล้วอินทผาลัมจะดูดซึมอย่างรวดเร็วเพื่อช่วยบำรุงร่างกายที่อ่อนเพลียให้มีกำลังมากขึ้น อินทผาลัมที่ได้รับความนิยมมี 4 ชนิดคือ

อัจวะฮฺ มีราคาแพง ผลสีดำลูกกลม เนื้อนุ่มหนึบ รสชาติเข้มข้นแต่ไม่หวานมาก

เดทเลคนัวร์ ผลสวย ยาวรี หวานน้อย

คาลาส หวานหนึบ เนื้อหนา หอมคาราเมล

บาฮี ผลสดจะมีรสหวาน มันกรอบ

แก้วน้ำชาลวดลายอาคารกะอฺบะฮฺ
นครมักกะฮฺ, ประเทศซาอุดิอาระเบีย

ชาเป็นเครื่องดื่มสำคัญในโลกอาหรับและมักเสิร์ฟพร้อมอาหารเช้า หลังอาหารกลางวัน และมื้อเย็น โดยปกติจะดื่มชาร้อนกับอินทผาลัม ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารให้ความหวาน ช่วยย่อยอาหารและผ่อนคลาย การดื่มชาใช้สำหรับต้อนรับแขก หรือการประชุมและการเจรจาทางธุรกิจในวัฒนธรรมอาหรับด้วย แก้วน้ำชาจากซาอุดิอาระเบียชุดนี้ มีรูปอาคารกะอฺบะฮฺ แห่งนครมักกะฮฺ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางทางศาสนาของชาวมุสลิมทั่วโลก

กะอฺบะฮฺ ตัวอาคารเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมมีความกว้างยาวด้านละประมาณ 40 ฟุต และสูงประมาณ 50 ฟุต ผนังทั้งสี่ไม่มีหน้าต่าง มีแต่เพียงประตูด้านเดียว ข้างในว่างเปล่า ตรงมุมด้านหนึ่งของตัวอาคารเป็นที่ตั้งของ “หินดำ” (อัลฮะญะรุลอัสวัด) เนื่องจากกะอฺบะฮฺเป็นบ้านแห่งแรกที่ถูกสร้างขึ้น เพื่อเป็นสถานที่สำหรับการเคารพสักการะอัลลอฮฺ ดังนั้น กะอฺบะฮฺจึงเป็น “กิบลัต” (จุดหมายในการผินหน้าไป) ของมุสลิมในเวลาละหมาด และเป็นสถานที่เวียนรอบ (ฏอวาฟ) ในการประกอบพิธีฮัจญ์และอุมเราะห์

รัฐบาลซาอุดิอาระเบีย ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลกะอฺบะฮฺและจัดเตรียมความสะดวกให้แก่ผู้ที่มาทำฮัจญ์ ได้สั่งทำผ้ากำมะหยี่สีดำประดับด้วย การปักดิ้นทองตัวอักษรภาษาอาหรับคลุมไว้ จึงทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า กะอฺบะฮฺ คือหินศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวมุสลิมเคารพบูชากราบไหว้ ซึ่งความจริงแล้วกะอฺบะฮฺเป็นเพียงจุดศูนย์รวมและจุดศูนย์กลางในการประกอบศาสนกิจของมุสลิมทั่วโลกเท่านั้น

บารากู่ (ชิชา,ฮูกาห์)

หม้อสูบยาสูบแบบอาหรับ โดยการสูบควันผ่านน้ำ ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้หรือการใช้ ความร้อนผ่านพืช ผลไม้บดแห้ง มีหลายรส เช่น  แอปเปิล สตรอว์เบอร์รีี องุ่น มินต์ ฯลฯ ควันมีกลิ่นหอมหวานผลไม้ ในแถบตะวันออกกลางพบได้ในร้านอาหาร ภัตตาคารทั่วไป ใช้สูบหลังอาหารแทนบุหรี่ (บุหรี่เป็นสิ่งต้องห้ามในทางศาสนา) บางแห่งสูบบารากู่กัน ในแหล่งที่ใช้เป็นที่สังสรรค์ ดูรายการยอดนิยม หรือดูกีฬาระดับชาติร่วมกัน

กริชอาหรับ (Jambiya)

มีดสันโค้ง  ใช้พกข้างเอวเป็นอาวุธเพื่อป้องกันตัวเอง และใช้เป็นเครื่องประดับประกอบ การแต่งกายในโอกาสพิเศษ

โกเฮนน่า

ภาชนะใส่ผงเฮนน่า (Henna) ใช้เขียนขอบตาให้คมชัด เฮนน่าเป็นพืชสมุนไพร นำใบมาสกัด ไม่มีส่วนผสมของสารเคมี นิยมนำมาย้อมผมเพื่อปิดผมขาว บำรุงหนังศีรษะเส้นผมให้เงางาม นอกจากนี้ยังใช้ทาเล็บและวาดลวดลายบนผิวหนังให้สวยงาม