ใช่ว่าจะมีแต่มนุษย์เท่านั้น
ที่มีอัตชีวประวัติ สถานที่ก็เช่นกัน
สถานที่แต่ละแห่งมีชีวประวัติเป็นของตนเอง
ในขณะที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งประกาศตนเป็น มหาวิทยาลัยของประชาชน เป็นมหาวิทยาลัยที่มีเสรีภาพทุก ตารางนิ้ว ซึ่งกำลังจะมีอายุครบ 80 ปี ใน พ.ศ 2557 นี้ “ทุ่งหลวงหรือทุ่งรังสิต” ก็มีชีวประวัติเป็นของตนเอง เป็นชีวประวัติที่เกี่ยวพันอย่างสำคัญ กับความเปลี่ยนแปลงของกายภาพของที่ราบภาคกลาง และผูกพันอย่างแนบแน่นกับความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของสังคมไทย โดยได้ผนวกรวมเอาชีวิต ส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งใน ชีวประวัติอันซับซ้อนนั้น กล่าวโดยรวบรัด ชีวประวัติของ “ทุ่งหลวง(รังสิต)”เกี่ยวโยงอย่างสำคัญกับ น้ำ พืช สัตว์ และมนุษย์
ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณทุ่งรังสิตในปัจจุบันภาพจาก google earth เมื่อวันที่ 4/10/2556
อาณาบริเวณทุ่งรังสิต หรือเดิมเรียกว่า “ทุ่งหลวง” นั้นครอบ คลุมพื้นที่ประมาณ 2,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1.5 ล้านไร่ ใน ช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 บริเวณ “ทุ่งหลวง” หมายถึงท้องทุ่งอันกว้าง ใหญ่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาและทางตอนใต้ของ อยุธยาลงมาจรดกรุงเทพฯ ภูมิประเทศดั้งเดิมของ “ทุ่งหลวง” คือที่ราบลุ่มต่ำประกอบด้วย หนองคลองบึงตามธรรมชาติ เมื่อถึงฤดูฝน และในช่วงน้ำหลาก มาจากทางเหนือ “ทุ่งหลวง” ก็จะกลายสถาพเป็นทุ่งรับน้ำ กว้างใหญ่ก่อนที่จะไหลออกไปสู่ทะเลตามธรรมชาติสู่แถบ คลองด่าน ตำบลบางเหี้ย จังหวัดสมุทรปราการ
![](https://museum.socanth.tu.ac.th/wp-content/uploads/2017/09/SchomburgksDeer-Berlin1911.jpg)
แต่เดิมมา “ทุ่งหลวง” อุดมไปด้วยพืชจำพวกหญ้า และหญ้าน้ำ จึงเป็นที่อาศัยของสัตว์ขนาดเล็กเช่นหนู นกน้ำและสัตว์ เลื้อยคลาน ไปจนถึงสัตวเลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่เช่น กวาง ละมั่ง สมันและโขลงช้าง เดิมทีมีผู้คนอาศัยอยู่ในบริเวณทุ่งหลวง อย่างกระจัดกระจาย ทุ่งหลวงจึงเป็นพื้นที่และชุมชนที่ “เวิ้งว้าง ขาดชีวิตทางสังคมและวิญญาณ”
ต่อมาเมื่อผู้คนเริ่มอพยพเข้ามามากขึ้น ภายหลังการริเริ่มขุด “คลองรังสิต” ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดย “บริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม” จนกระทั่งสามารถจัดตั้ง ขึ้นเป็นเมืองแห่งข้าว “ธัญญบุรี” เทียบเคียงกับเมืองแห่งปลา คือ “มีนบุรี” นิเวศวิทยาของ “ทุ่งหลวงรังสิต” ก็เปลี่ยนแปลง ไปอย่างสำคัญ ผู้คนกลุ่มต่างๆ มอญ ไทย คนจีน ลาว (อีสาน) มุสลิมมาลายูเข้ามาตั้งรกรากเพิ่มมากขึ้น พร้อมกันกับ การถอยร่นไปของโขลงช้างและการสูญพันธุ์ไปโดยสิ้นเชิงของ เนื้อสมัน (Shomburgk deer) กวางชนิดหนึ่งซึ่งค้นพบเฉพาะ ที่เมืองไทยเพียงแห่งเดียวในโลก และเคยอาศัยอยู่อย่างชุกชุมใน “ทุ่งหลวงรังสิต”
![](https://museum.socanth.tu.ac.th/wp-content/uploads/2017/09/02.jpg)
![](https://museum.socanth.tu.ac.th/wp-content/uploads/2017/09/03-1024x650.jpg)
![](https://museum.socanth.tu.ac.th/wp-content/uploads/2017/09/06.jpg)
ได้มีพระบรมราชโองการให้สถาปนา เมือง
ธัญญบุรี โดยคำว่า “ธัญญบุรี” หมายถึง
“เมืองแห่งข้าว”
เมื่อประเทศไทยเริ่มประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ และสนใจส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมทำให้ทุ่งรังสิตซึ่งถูกปรับ เปลี่ยนให้เป็นเขตกสิกรรมปลูกข้าวขนาดใหญ่ เริ่มปรับเปลี่ยน ไปเป็นพื้นที่ของโรงงานอุตสาหกรรมและที่อยู่อาศัย การสร้าง นิคมอุตสาหกรรมนวนคร เมื่อปีพ.ศ.2515 สะท้อนให้เห็น ความเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญอีกครั้งของพื้นที่แห่งนี้ จาก “ทุ่ง” กลายมาเป็น “เมืองแห่งใหม่” (นวนคร) ซึ่งนอกจากจะส่งผล อย่างสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม และภูมิทัศน์แล้ว ยังส่ง ผลต่อการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างของประชากรโดยรวม ในทุ่งรังสิตด้วย เมื่อโรงงานอุตสาหกรรมรับแรงงานหญิงเป็นหลัก
คณะรัฐมนตรีโดยการสนับสนุนของดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ ได้ริเริ่ม จัดหาพื้นที่บริเวณทุ่งรังสิตให้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ.2510 และการขยายการเรียนการสอนของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยให้นักศึกษาปีที่ 1 ของทุกคณะได้ เข้ามาเรียนที่ศูนย์รังสิตเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ.2529 รวมถึง การสร้างสถาบันการศึกษาในบริเวณดังกล่าวนี้อีกหลายแห่งได้ สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับทุ่งรังสิตอีกครั้งหนึ่ง ในช่วงระยะเวลาประวัติศาสตร์อันใกล้ของประเทศไทย…คงไม่มีพื้นที่แห่งใดจะมีชีวประวัติที่ผันผวนมากไปกว่า“ทุ่งหลวงรังสิต” ขอเชิญชวนให้ค้นหาชีวประวัติของพื้นที่ที่เราได้ใช้ชีวิตอยู่
ในช่วงระยะเวลาหนึ่งของชีวิตบางทีการทำเข้าใจความเป็นมาของพื้นที่ที่อาศัยอยู่ เรียนรู้การสูญพันธุ์ไปของสมัน การปรับตัวตาม สถานการณ์ของเหี้ยและการมาถึงของสมาชิกใหม่หงส์ขาวและ หงส์ดำ รวมไปถึงการปลูกข้าว ชาวนาและโรงงานอุตสาหกรรม ที่อยู่รอบๆตัวเราหรือการทำความเข้าใจชีวิตและเครื่องแบบของหนุ่ม-สาวชาวโรงงานและนักศึกษาคงไม่เพียงแต่จะทำให้เราเข้า ใจเรื่องพื้นที่ ชุมชนและประเทศชาติเท่านั้นท้ายที่สุดเราอาจมอง เห็นความละม้ายคล้ายคลึงของเราและผู้คนรอบๆตัวเราที่ต่าง อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เดียวกัน “ทุ่งหลวงรังสิต”
จากสมันถึงเหี้ย: ความเปลี่ยนแปลง ของสภาพแวดล้อมทุ่งรังสิต
“เนื้อสมันเป็นกวางที่ไม่เคยเคยมีที่อื่นๆ เลยในโลก ครั้งหนึ่งเคย มีชุกชุมมากตามทุ่งหญ้า ในภาคกลางแถวลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตามแถวบางเขน หลักสี่ ดอนเมือง ทุ่งรังสิต อยุธยา ดร.ใหญ่ สนิทวงศ์ เมื่อครั้งเป็นผู้อำนวยการบริษัท Siam Canals, land and Irrigation อยู่ควบคุมงานการขุดคลองระบายน้ำ เพื่อการทำนาในทุ่งรังสิตเล่าว่าสมัยนั้นเนื้อสมันมีชุมมาก เคยยิง ได้แถวบริเวณประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ ในฤดูน้ำท่วมมันจะหนีน้ำไป อยู่ตามเกาะที่ดอน ชาวบ้านก็ชวนกันไปด้วยเรือแล้วไล่แทงเอา ตามชอบใจอย่างง่ายดาย ในฤดูร้อนบางคนก็เอาเขาสมันมาสวม ติด ไว้บนศรีษะคลานเข้าไปได้จวนถึงตัวสมันก็แทงเอา อย่าง ง่ายดาย ในหน้าน้ำท่วม มักชอบชวนกันขี่ควายไปล้อมแทง เนื้อสมันซึ่งหนีน้ำขึ้นไปอาศัยตามเกาะที่ดอน”
![](https://museum.socanth.tu.ac.th/wp-content/uploads/2017/09/r01.jpg)
“นายสัตวแพทย์อลงกรณ์ มหรรณพ กล่าวไว้ว่า ตัวเหี้ยจำนวน มากจากพื้นที่กรุงเทพฯ บริเวณคลองผดุงกรุงเกษม คลองเปรม ประชากร ทำเนียบรัฐบาล รัฐสภา…ได้อพยพไปอยู่ในพื้นที่อื่นที่ มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมมากกว่าตามจังหวัดใกล้เคียงเช่น ปทุมธานี”
นาข้าวและชาวนา: สภาพเศรษฐกิจ และสังคมอันมีผลต่อที่ราบภาคกลาง
พระยาอนุมานราชธน ได้กล่าวถึงการตั้งสภาพบ้านเรือนในเขตพระยาอนุมานราชธน ได้กล่าวถึงการตั้งสภาพบ้านเรือนในเขตทุ่งรังสิตก่อนขุดคลองรังสิตไว้ว่า“บ้านเรือนแถวทุ่งรังสิต ซึ่งเป็นทุ่งเวิ้งว้างกว้างใหญ่เห็นลิบลิ่วสุดสายตา มีหมู่ไม้ขึ้นขัดจังหวะอยู่กระจัดกระจายกันเป็นหย่อมๆ คล้ายเป็นเกาะเป็นดอนอยู่กลางน้ำ ที่ตรงหมู่ไม้นี้ ถมดินเป็นโคกเพื่อหนีน้ำท่วมในฤดูหน้าน้ำ แล้วสร้างบ้านปลูกเรือนอยู่กันเป็นหย่อมๆ”
2433 | เริ่มขุดคลองรังสิตประยูรศักดิ์ และเริ่มมีประชาการเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ชุมชนเริ่มแรกที่เกิดขึ้น คือ ชุมชนปากคลองเจ็ด |
2438 | ประชากรเข้ามาตั้งถิ่นฐานทำนาในทุ่งรังสิตอย่างเห็นได้ชัด |
2439 | กลุ่มโจร 30 คน บุกเข้าปล้นในที่นาผืนใหญ่ของกรมหลวง พิชิตปรีชากร |
2443 | เริ่มขุดคลองซอยฝั่งเหนือคลองรังสิต 20 คลองและมีการปล้นตลาดครั้งใหญ่ บนที่ดินของหลวงพิชิตปรีชากร |
2445 | ตั้งเมืองธัญญบุรี |
2449 | คลองรังสิตที่ขุดเสร็จและเป็นเส้นทางคมนาคมเริ่มตื้นเขิน เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำอย่างหนัก ทำให้มีการอพยพของชาวนาถึง 1000 ครองครัว |
2450 | เกิดอหิวาตกโรคระบาดที่เมืองธัญบุรี และระบาดไปทั่วทุ่งรังสิต |
2451 | เกิดน้ำท่วม ทำให้ที่นาในที่ลุ่มบริเวณรังสิตเสียหายทำนบพัง |
2524-25 | เริ่มมีการขยายการผลิตส้มเขียวหวานเพิ่มมากขึ้น |
2554 | อุทกภัยครั้งใหญ่ของประเทศความเสียหายไม่ต่ำกว่าหนึ่งล้านล้านบาท |
สาวโรงงานและนักศึกษา : ผู้คนต่างสถานะ บนพื้นที่ต่างเวลา
การขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรมเข้ามาที่ทุ่งรังสิตโดยเฉพาะการก่อตั้งนิคมอุตสาหกรรมนวนครในปีพ.ศ.2515 ส่งผลต่อ การประกอบอาชีพและราคาที่ดินในชุมชนรังสิตเป็นอย่างมาก ชาวนาส่วนใหญ่เลิกประกอบอาชีพทำนาหันมาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม และมีการย้ายถิ่นเข้ามาเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 43.3 ในปีพ.ศ.2537 เกิดมีชุมชนบ้านจัดสรรเพิ่มมากขึ้น ชุมชนที่เคยมี ชีวิตในเฉพาะตอนกลางวันขยายเวลามามีชีวิตกลางคืนโดยการ ชุมนุมของขบวนรถสองแถวและสิบล้อที่ทยอยเข้ากรุงเทพฯใน เวลาค่ำ
![](https://museum.socanth.tu.ac.th/wp-content/uploads/2017/09/tu.jpg)
การขยายตัวเข้ามาของอุตสาหกรรมการศึกษาในพื้นที่ทุ่งรังสิต โดยการตั้งมหาวิทยาลัยในพื้นที่ใกล้เคียงกับโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ตั้งคณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีเป็นคณะแรกในปีพ.ศ.2529 และในปีการศึกษานี้ได้ ให้นักศึกษาปี 1ของทุกคณะเริ่มเรียนที่ศูนย์รังสิตเป็นรุ่นบุกเบิก และนับแต่นั้นมา นักศึกษาและหนุ่ม-สาวโรงงานก็ได้มามีวิถีชีวิต อยู่บนพื้นที่เดียวกันใน“ทุ่งรังสิต”คนกลุ่มหนึ่งทำงานเป็นเวลาที่ แน่นอน คนอีกกลุ่มหนึ่งร่ำเรียนหนังสือเพื่อเป็น “บัณฑิต” แต่ ก็ต่างมีเครื่องแบบเป็นของตนเองใช้ชีวิตร่วมกันในห้างสรรพ- สินค้าเดียวกัน นั่งรถประจำทางคันเดียวกัน แต่พวกเขาจะรู้จัก มากน้อยอย่างไรนั้น…?