พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ ทอดพระเนตรการขุดค้นที่แหล่ง
โบราณคดีบ้านเชียง นายพจน์ เกื้อกูล และศาสตราจารย์
นายแพทย์ สุด แสงวิเชียร ถวายคําอธิบาย
(ที่มาภาพ: สํานักราชเลขา www.ohmpps.go.th)

เหตุการณ์บ้านเชียง

ชุมชนที่อาศัยอยู่ที่ .บ้านเชียง .หนองหานจ.อุดรธานี พบว่าใต้พื้นดินในหมู่บ้านมีโครงกระดูกมนุษย์โบราณฝังร่วมกับวัตถุมากมายโดยเฉพาะภาชนะเขียนลายสีแดงสวยงามแปลกตา ใบที่สมบูรณ์ถูกนํามาใช้ประโยชน์ ใน ..2503 โรงเรียนบ้านเชียงจัดห้องพิพิธภัณฑ์เพื่อรวบรวมวัตถุที่พบในหมู่บ้าน เมื่อมีเจ้าหน้าที่มาตรวจโรงเรียนก็มักจะมอบภาชนะเขียนลายให้เพื่อหวังให้มีคนสนใจ .. 2508 ภาชนะเขียนลายสีแดงใบสุดท้ายของโรงเรียนมอบให้กับเจ้าหน้าที่จังหวัด และถูกส่งต่อไปยังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

.. 2510 การศึกษาโบราณคดีบ้านเชียง เริ่มต้นขึ้นอย่างจริงจังโดยกรมศิลปากรและสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ

.. 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดําเนินทอดพระเนตรการขุดค้นของกรมศิลปากร

.. 2516 นายสตีเฟน ยัง นักศึกษาสังคมวิทยาเดินทางไปที่บ้านเชียงให้ความสนใจภาชนะเขียนลายสีแดงเป็นอย่างมาก

สมเด็จพระพี่นางฯ เสด็จชมนิทรรศการ ที่หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่จัดแสดงวัตถุที่ขุดค้นพบ ที่บ้านอ้อมแก้ว ราวกลางปี พ.ศ. 2515

เครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสีแดงบนพื้นขาว จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง
(ภาพโดย พจนก กาญจนจันทร)

หม้อเขียนลาย

งานสํารวจขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านเชียง เริ่มขึ้นราว .. 2510 หรือภายหลังจากที่มีการซื้อขายโบราณวัตถุมาหลายปีหม้อเขียนลายได้รับความนิยมอย่างสูง ต่อมาเมื่อข้อมูลทางวิชาการระบุว่าบ้านเชียงมีอายุเก่าแก่ถึง 6,000-7,000 ปีก็ยิ่งทําให้หม้อเขียนลายเป็นที่ต้องการมากขึ้น

กระแสการอนุรักษ์

ก่อนหน้าที่ข้อมูลความรู้ทางโบราณคดีจะก้าวหน้าดังเช่นปัจจุบัน ก็มีงานตีพิมพ์เผยแพร่เกี่ยวกับการค้นพบที่บ้านเชียงมากมายหลายชิ้น ทั้งโดยผู้เชี่ยวชาญและผู้สนใจที่ไม่ใช่นักโบราณคดี ที่ได้บอกเล่าประวัติชุมชน ประวัติการค้นพบ บุคคลที่เกี่ยวข้อง และที่น่าสนใจคือมีความพยายามที่จะอธิบายที่มาของวัฒนธรรมบ้านเชียงโดยเปรียบเทียบกับหลักฐานในต่างประเทศ

พรบ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ..2504

มีจุดประสงค์เพื่อปกป้องคุ้มครองโบราณสถาน/วัตถุ และรองรับการขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีเป็นพิเศษ อีกทั้งให้อํานาจอธิบดีในการประกาศห้ามทําการค้าโบราณวัตถุดังกล่าวนั้นในราชกิจจานุเบกษา และมีการกําหนดบทลงโทษที่รุนแรงขึ้นกว่ากฎหมายฉบับก่อน

ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 189 .. 2515

ห้ามการขุดหา และจําหน่ายจ่ายโอนโบราณวัตถุ อธิบดีกรมศิลปากรมีอํานาจสั่งให้ผู้ครอบครองส่งมอบโบราณวัตถุ ผู้ฝ่าผืนมีความผิดทางอาญา

บ้านเชียงในโลกวิชาการ

วิทยา อินทโกศัย

อลิซเบธ ไลออนส์
อลิซเบธ ไลออนส์

เฟรอลิช เรเนย์
เฟรอลิช เรเนย์

ดอนน์ แบเยิร์ต
ดอนน์ แบเยิร์ต

เซสเตอร์ ดอร์แมน
เซสเตอร์ ดอร์แมน

พิสิฐ เจริญวงศ์
พิสิฐ เจริญวงศ์

จอยซ์ ไวท์
จอยซ์ ไวท์

สุด แสงวิเชียร
สุด แสงวิเชียร

ปรีชา กาญจนคม
ปรีชา กาญจนคม

สุมิตร ปิติพัฒน์
สุมิตร ปิติพัฒน์
หลุมขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงภายในวัดโพธิ์ศรีใน ปี พ.ศ. 2518
(ภาพโดย เชสเตอร์ กอร์แมน)
หลุมขุดค้นจําลอง (บน) จัดแสดงที่วัดโพธิ์ศรีใน (ล่าง) จัดแสดงภายในอาคารพิพิธภัณฑสถาน
แห่งชาติบ้านเชียง (ภาพโดยพจนก กาญจนจันทร)

บ้านเชียงกับการเริ่มต้นงานโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์

องค์ความรู้เรื่องสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยเพิ่งจะเริ่มมีการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ ราว .. 2500 เป็นต้นมา กระแสความสนใจต่ออดีตของผู้คนบนผืนแผ่นดินไทย ถูกปลุกขึ้นมาด้วยการค้นพบโครงกระดูกและภาชนะเขียนลายที่ไม่เคยพบที่ใดมาก่อนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ภาพหมู่คณาจารย์และนักศึกษาแผนกวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะ
โบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรขุดค้นที่บ้านเชียงหน้าหลุมขุดค้นที่วัดโพธิ์ศรี ใน พ.ศ. 2516

การสํารวจขุดค้นที่บ้านเชียง

       ดําเนินโดยกรมศิลปากร และสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ โครงการศึกษาที่ส่งอิทธิพลต่อแนวคิดและเทคนิควิธีต่อโบราณคดีไทยมากที่สุดคือ โครงการโบราณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เป็นความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากรและมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ที่รวมผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา วัตถุประสงค์ของโครงการนอกจากใน

ด้านวิชาการแล้วก็มุ่งหมายในการฝึกฝนนักโบราณคดีรุ่นใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้การขุดค้นได้เผยให้เห็นว่าบ้านเชียงเป็นชุมชนขนาดใหญ่ และมีการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง ช่วงประมาณ 5,600 – 1,800 ปีมาแล้ว เป็นสังคมเกษตรกรรม มีประเพณีการฝังศพที่นิยมฝังสิ่งของอุทิศร่วมกับศพ เช่น ภาชนะดินเผาที่ผลิตอย่างประณีต และเครื่องประดับต่างๆ เป็นต้น

มหากาพย์สําริดบ้านเชียง

โบราณวัตถุจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง
(ภาพโดย พจนก กาญจนจันทร)

Localism vs Diffusionism

       ผลงานวิจัยโบราณคดีบ้านเชียงได้สร้างองค์ความรู้มากมายเกี่ยวกับสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย เช่น เรื่องการดํารงชีวิต พิธีกรรมความเชื่อการใช้ทรัพยากรพัฒนาการของเทคโนโลยี การแลกเปลี่ยนกับโลกภายนอก ตลอดจนการแสดงออกเชิงศิลปะที่สะท้อนโลกทัศน์และจินตนาการของคนสมัยโบราณ 

       เมื่อมีการค้นพบหลักฐานเชิงประจักษ์จํานวนมากก็สะท้อนให้เห็นว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีผู้คนอยู่อาศัยอย่างน้อย ตั้งแต่สมัยหินใหม่ อีกทั้งยังมีความรู้ความชํานาญที่ก้าวหน้า โดยเฉพาะด้านโลหกรรม ซึ่งมีผู้เสนอว่าเป็น เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเองในท้องถิ่น(Localism) หาได้เป็นสังคมที่ล้าหลังที่เพียงแต่รับความเจริญจากภาพนอกดังที่เคยเข้าใจกันไม่

ความรู้ใหม่ท้าทายแนวคิดเดิม

        ที่ว่าด้วยเรื่องการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม (Diffusionism) และการเสนอค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ของบ้านเชียงที่มีนัยยะถึงอายุสมัยของโลหกรรมด้วย ที่บางคนเชื่อว่าไม่ควรเก่าแก่ไปกว่าจีนและอินเดียจนทําให้เกิดข้อถกเถียงทางวิชาการมากมาย

ใบหอกสําริดพบที่บ้านเชียง
(ที่มาภาพ: http://iseaarchaeology.org/distinct-bronze-age)

อายุเป็นเพียงตัวเลข

           ข้อมูลแหล่งโบราณคดีไทยนับว่าก้าวหน้ามากในปัจจุบัน การเสนออายุสมัยของแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงโดยทีมวิจัยมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย มีการปรับเปลี่ยนไปตามเทคนิคการกําหนดอายุที่พัฒนาขึ้น ปัจจุบันทีมวิจัยนี้เสนอว่า บ้านเชียงสมัยสําริดมีอายุ ราว 1,700 ปีก่อนคริสตกาล

          ในขณะที่ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอตาโก นิวซีแลนด์ ที่ทํางานที่แหล่งบ้านโนนวัด และแหล่งอื่นๆ ใน .นครราชสีมา เสนอว่าโลหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยน่าจะเริ่มขึ้นราว 1,500 ปีก่อนคริสตกาล

           ข้อถกเถียงว่าด้วยการกําหนดอายุดังกล่าวนี้ กลายเป็นมหากาพย์ทางวิชาการที่ยังไม่มีข้อยุติ คงเป็นเรื่องธรรมดาสามัญของโลกวิชาการ ที่จะมีแนวคิดที่แตกต่างกันไปหากเป็นการถกเถียงด้วยการทํางานวิจัยแทนที่จะเป็นการล้มล้างความน่าเชื่อถือของกันและกัน

มรดกโลกบ้านเชียง

มรดกไทย

บ้านเชียงมิใช่เป็นเพียงแหล่งโบราณคดีแต่อาจเรียกได้ว่าเป็นภาพแทนของโบราณคดีไทยเป็นแหล่งที่มีบทบาทสําคัญ

ในการสร้างองค์ความรู้ และการพัฒนาระเบียบวิธีการวิจัย ในปัจจุบันหลักฐานวัตถุจากการขุดค้น ยังมีการศึกษาวิเคราะห์

อย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยทีมวิจัย The Ban Chiang Project นําโดยดร.จอยซ์ ไวท์ (http://iseaarchaeology.org/the-ban-chiang-project/)


มรดกโลก

       นอกจากผลกระทบทางวิชาการแล้วโบราณคดีบ้านเชียงยังส่งผลในทางสังคมด้วย จากกระแสการแตกตื่น มาสู่กระแสการอนุรักษ์หวงแหนและสงวนรักษาไว้เป็นมรดกของชาติ เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม และแหล่งที่สร้างความภาคภูมิใจ

       ในปี .. 2535 แหล่งมรดกวัฒนธรรมแห่งนี้ได้รับการจดทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก โดยองค์การยูเนสโก ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์เพียงแห่งเดียวของไทย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในขณะนี้

ภาพถ่ายทางอากาศ แสดงขอบเขตทางกายภาพของแหล่งมรดกโลกบ้านเชียง
(ที่มาภาพ: http://whc.unesco.org/en/list/575/multiple=1&unique_number=680)
ภาชนะดินเผาลายเขียนสี ทําเลียนแบบโบราณวัตถุบ้านเชียง ที่จําหน่ายเป็นของที่ระลึกให้นักท่องเที่ยว
(ที่มาภาพ http://www.dokyaudon.com )