ใช่ว่าจะมีแต่มนุษย์เท่านั้น
ที่มีอัตชีวประวัติ สถานที่ก็เช่นกัน

สถานที่แต่ละแห่งมีชีวประวัติเป็นของตนเอง

       ในขณะที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งประกาศตนเป็น มหาวิทยาลัยของประชาชน เป็นมหาวิทยาลัยที่มีเสรีภาพทุก ตารางนิ้ว ซึ่งกำลังจะมีอายุครบ 80 ปี ใน พ.ศ 2557 นี้ “ทุ่งหลวงหรือทุ่งรังสิต” ก็มีชีวประวัติเป็นของตนเอง เป็นชีวประวัติที่เกี่ยวพันอย่างสำคัญ กับความเปลี่ยนแปลงของกายภาพของที่ราบภาคกลาง และผูกพันอย่างแนบแน่นกับความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของสังคมไทย โดยได้ผนวกรวมเอาชีวิต ส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งใน ชีวประวัติอันซับซ้อนนั้น   กล่าวโดยรวบรัด ชีวประวัติของ “ทุ่งหลวง(รังสิต)”เกี่ยวโยงอย่างสำคัญกับ น้ำ พืช สัตว์ และมนุษย์

ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณทุ่งรังสิตในปัจจุบันภาพจาก google earth เมื่อวันที่ 4/10/2556

          อาณาบริเวณทุ่งรังสิต หรือเดิมเรียกว่า “ทุ่งหลวง” นั้นครอบ คลุมพื้นที่ประมาณ 2,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1.5 ล้านไร่ ใน ช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 บริเวณ “ทุ่งหลวง” หมายถึงท้องทุ่งอันกว้าง ใหญ่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาและทางตอนใต้ของ อยุธยาลงมาจรดกรุงเทพฯ  ภูมิประเทศดั้งเดิมของ “ทุ่งหลวง” คือที่ราบลุ่มต่ำประกอบด้วย หนองคลองบึงตามธรรมชาติ เมื่อถึงฤดูฝน และในช่วงน้ำหลาก มาจากทางเหนือ “ทุ่งหลวง” ก็จะกลายสถาพเป็นทุ่งรับน้ำ กว้างใหญ่ก่อนที่จะไหลออกไปสู่ทะเลตามธรรมชาติสู่แถบ คลองด่าน ตำบลบางเหี้ย จังหวัดสมุทรปราการ

ทุ่งรังสิตอุดมไปด้วยพืชจำพวกหญ้า จึงเป็น ที่อาศัยของสัตว์หลายชนิดรวมถึง สมัน

     แต่เดิมมา “ทุ่งหลวง” อุดมไปด้วยพืชจำพวกหญ้า และหญ้าน้ำ จึงเป็นที่อาศัยของสัตว์ขนาดเล็กเช่นหนู นกน้ำและสัตว์ เลื้อยคลาน ไปจนถึงสัตวเลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่เช่น กวาง ละมั่ง สมันและโขลงช้าง เดิมทีมีผู้คนอาศัยอยู่ในบริเวณทุ่งหลวง อย่างกระจัดกระจาย ทุ่งหลวงจึงเป็นพื้นที่และชุมชนที่ “เวิ้งว้าง ขาดชีวิตทางสังคมและวิญญาณ”

     ต่อมาเมื่อผู้คนเริ่มอพยพเข้ามามากขึ้น ภายหลังการริเริ่มขุด “คลองรังสิต” ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดย “บริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม” จนกระทั่งสามารถจัดตั้ง ขึ้นเป็นเมืองแห่งข้าว “ธัญญบุรี” เทียบเคียงกับเมืองแห่งปลา คือ “มีนบุรี” นิเวศวิทยาของ “ทุ่งหลวงรังสิต” ก็เปลี่ยนแปลง ไปอย่างสำคัญ ผู้คนกลุ่มต่างๆ มอญ ไทย คนจีน ลาว (อีสาน) มุสลิมมาลายูเข้ามาตั้งรกรากเพิ่มมากขึ้น พร้อมกันกับ การถอยร่นไปของโขลงช้างและการสูญพันธุ์ไปโดยสิ้นเชิงของ เนื้อสมัน (Shomburgk deer) กวางชนิดหนึ่งซึ่งค้นพบเฉพาะ ที่เมืองไทยเพียงแห่งเดียวในโลก และเคยอาศัยอยู่อย่างชุกชุมใน “ทุ่งหลวงรังสิต”

คลองรังสิตขุดขึ้นครั้งแรกโดนบริษัท ขุดคลองแลคูนาสยาม
บริษัทขุดคลองแลคูนาสยามกำลังขุดคลองรังสิต
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้มีพระบรมราชโองการให้สถาปนา เมือง
ธัญญบุรี โดยคำว่า “ธัญญบุรี” หมายถึง
“เมืองแห่งข้าว”

       เมื่อประเทศไทยเริ่มประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ และสนใจส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมทำให้ทุ่งรังสิตซึ่งถูกปรับ เปลี่ยนให้เป็นเขตกสิกรรมปลูกข้าวขนาดใหญ่ เริ่มปรับเปลี่ยน ไปเป็นพื้นที่ของโรงงานอุตสาหกรรมและที่อยู่อาศัย การสร้าง นิคมอุตสาหกรรมนวนคร เมื่อปีพ.ศ.2515 สะท้อนให้เห็น ความเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญอีกครั้งของพื้นที่แห่งนี้ จาก “ทุ่ง” กลายมาเป็น “เมืองแห่งใหม่” (นวนคร) ซึ่งนอกจากจะส่งผล อย่างสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม และภูมิทัศน์แล้ว ยังส่ง ผลต่อการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างของประชากรโดยรวม ในทุ่งรังสิตด้วย เมื่อโรงงานอุตสาหกรรมรับแรงงานหญิงเป็นหลัก

       คณะรัฐมนตรีโดยการสนับสนุนของดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ ได้ริเริ่ม จัดหาพื้นที่บริเวณทุ่งรังสิตให้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ.2510 และการขยายการเรียนการสอนของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยให้นักศึกษาปีที่ 1 ของทุกคณะได้ เข้ามาเรียนที่ศูนย์รังสิตเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ.2529 รวมถึง การสร้างสถาบันการศึกษาในบริเวณดังกล่าวนี้อีกหลายแห่งได้ สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับทุ่งรังสิตอีกครั้งหนึ่ง ในช่วงระยะเวลาประวัติศาสตร์อันใกล้ของประเทศไทย…คงไม่มีพื้นที่แห่งใดจะมีชีวประวัติที่ผันผวนมากไปกว่า“ทุ่งหลวงรังสิต” ขอเชิญชวนให้ค้นหาชีวประวัติของพื้นที่ที่เราได้ใช้ชีวิตอยู่

       ในช่วงระยะเวลาหนึ่งของชีวิตบางทีการทำเข้าใจความเป็นมาของพื้นที่ที่อาศัยอยู่ เรียนรู้การสูญพันธุ์ไปของสมัน การปรับตัวตาม สถานการณ์ของเหี้ยและการมาถึงของสมาชิกใหม่หงส์ขาวและ หงส์ดำ รวมไปถึงการปลูกข้าว ชาวนาและโรงงานอุตสาหกรรม ที่อยู่รอบๆตัวเราหรือการทำความเข้าใจชีวิตและเครื่องแบบของหนุ่ม-สาวชาวโรงงานและนักศึกษาคงไม่เพียงแต่จะทำให้เราเข้า ใจเรื่องพื้นที่ ชุมชนและประเทศชาติเท่านั้นท้ายที่สุดเราอาจมอง เห็นความละม้ายคล้ายคลึงของเราและผู้คนรอบๆตัวเราที่ต่าง อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เดียวกัน “ทุ่งหลวงรังสิต”


จากสมันถึงเหี้ย: ความเปลี่ยนแปลง ของสภาพแวดล้อมทุ่งรังสิต

       “เนื้อสมันเป็นกวางที่ไม่เคยเคยมีที่อื่นๆ เลยในโลก ครั้งหนึ่งเคย มีชุกชุมมากตามทุ่งหญ้า ในภาคกลางแถวลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตามแถวบางเขน หลักสี่ ดอนเมือง ทุ่งรังสิต อยุธยา ดร.ใหญ่ สนิทวงศ์ เมื่อครั้งเป็นผู้อำนวยการบริษัท Siam Canals, land and Irrigation อยู่ควบคุมงานการขุดคลองระบายน้ำ เพื่อการทำนาในทุ่งรังสิตเล่าว่าสมัยนั้นเนื้อสมันมีชุมมาก เคยยิง ได้แถวบริเวณประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ ในฤดูน้ำท่วมมันจะหนีน้ำไป อยู่ตามเกาะที่ดอน ชาวบ้านก็ชวนกันไปด้วยเรือแล้วไล่แทงเอา ตามชอบใจอย่างง่ายดาย ในฤดูร้อนบางคนก็เอาเขาสมันมาสวม ติด ไว้บนศรีษะคลานเข้าไปได้จวนถึงตัวสมันก็แทงเอา อย่าง ง่ายดาย ในหน้าน้ำท่วม มักชอบชวนกันขี่ควายไปล้อมแทง เนื้อสมันซึ่งหนีน้ำขึ้นไปอาศัยตามเกาะที่ดอน”

ภาพลายเส้นสมันและการล่าสมัน จาก หนังสือชุดนิยมไพร เรื่อง “สมัน” ของนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล

 

“นายสัตวแพทย์อลงกรณ์ มหรรณพ กล่าวไว้ว่า ตัวเหี้ยจำนวน มากจากพื้นที่กรุงเทพฯ บริเวณคลองผดุงกรุงเกษม คลองเปรม ประชากร ทำเนียบรัฐบาล รัฐสภา…ได้อพยพไปอยู่ในพื้นที่อื่นที่ มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมมากกว่าตามจังหวัดใกล้เคียงเช่น ปทุมธานี”


นาข้าวและชาวนา: สภาพเศรษฐกิจ และสังคมอันมีผลต่อที่ราบภาคกลาง

       พระยาอนุมานราชธน ได้กล่าวถึงการตั้งสภาพบ้านเรือนในเขตพระยาอนุมานราชธน ได้กล่าวถึงการตั้งสภาพบ้านเรือนในเขตทุ่งรังสิตก่อนขุดคลองรังสิตไว้ว่า“บ้านเรือนแถวทุ่งรังสิต ซึ่งเป็นทุ่งเวิ้งว้างกว้างใหญ่เห็นลิบลิ่วสุดสายตา มีหมู่ไม้ขึ้นขัดจังหวะอยู่กระจัดกระจายกันเป็นหย่อมๆ คล้ายเป็นเกาะเป็นดอนอยู่กลางน้ำ ที่ตรงหมู่ไม้นี้ ถมดินเป็นโคกเพื่อหนีน้ำท่วมในฤดูหน้าน้ำ แล้วสร้างบ้านปลูกเรือนอยู่กันเป็นหย่อมๆ”

2433 เริ่มขุดคลองรังสิตประยูรศักดิ์ และเริ่มมีประชาการเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ชุมชนเริ่มแรกที่เกิดขึ้น คือ ชุมชนปากคลองเจ็ด
2438 ประชากรเข้ามาตั้งถิ่นฐานทำนาในทุ่งรังสิตอย่างเห็นได้ชัด
2439 กลุ่มโจร 30 คน บุกเข้าปล้นในที่นาผืนใหญ่ของกรมหลวง พิชิตปรีชากร
2443 เริ่มขุดคลองซอยฝั่งเหนือคลองรังสิต 20 คลองและมีการปล้นตลาดครั้งใหญ่ บนที่ดินของหลวงพิชิตปรีชากร
2445 ตั้งเมืองธัญญบุรี
2449 คลองรังสิตที่ขุดเสร็จและเป็นเส้นทางคมนาคมเริ่มตื้นเขิน  เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำอย่างหนัก ทำให้มีการอพยพของชาวนาถึง 1000 ครองครัว
2450 เกิดอหิวาตกโรคระบาดที่เมืองธัญบุรี และระบาดไปทั่วทุ่งรังสิต
2451 เกิดน้ำท่วม ทำให้ที่นาในที่ลุ่มบริเวณรังสิตเสียหายทำนบพัง
2524-25 เริ่มมีการขยายการผลิตส้มเขียวหวานเพิ่มมากขึ้น
2554 อุทกภัยครั้งใหญ่ของประเทศความเสียหายไม่ต่ำกว่าหนึ่งล้านล้านบาท

 


สาวโรงงานและนักศึกษา : ผู้คนต่างสถานะ บนพื้นที่ต่างเวลา

       การขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรมเข้ามาที่ทุ่งรังสิตโดยเฉพาะการก่อตั้งนิคมอุตสาหกรรมนวนครในปีพ.ศ.2515 ส่งผลต่อ การประกอบอาชีพและราคาที่ดินในชุมชนรังสิตเป็นอย่างมาก ชาวนาส่วนใหญ่เลิกประกอบอาชีพทำนาหันมาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม และมีการย้ายถิ่นเข้ามาเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 43.3 ในปีพ.ศ.2537 เกิดมีชุมชนบ้านจัดสรรเพิ่มมากขึ้น ชุมชนที่เคยมี ชีวิตในเฉพาะตอนกลางวันขยายเวลามามีชีวิตกลางคืนโดยการ ชุมนุมของขบวนรถสองแถวและสิบล้อที่ทยอยเข้ากรุงเทพฯใน เวลาค่ำ

ภาพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต อดีตและปัจจุบัน

       การขยายตัวเข้ามาของอุตสาหกรรมการศึกษาในพื้นที่ทุ่งรังสิต โดยการตั้งมหาวิทยาลัยในพื้นที่ใกล้เคียงกับโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ตั้งคณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีเป็นคณะแรกในปีพ.ศ.2529 และในปีการศึกษานี้ได้ ให้นักศึกษาปี 1ของทุกคณะเริ่มเรียนที่ศูนย์รังสิตเป็นรุ่นบุกเบิก และนับแต่นั้นมา นักศึกษาและหนุ่ม-สาวโรงงานก็ได้มามีวิถีชีวิต อยู่บนพื้นที่เดียวกันใน“ทุ่งรังสิต”คนกลุ่มหนึ่งทำงานเป็นเวลาที่ แน่นอน คนอีกกลุ่มหนึ่งร่ำเรียนหนังสือเพื่อเป็น “บัณฑิต” แต่ ก็ต่างมีเครื่องแบบเป็นของตนเองใช้ชีวิตร่วมกันในห้างสรรพ- สินค้าเดียวกัน นั่งรถประจำทางคันเดียวกัน แต่พวกเขาจะรู้จัก มากน้อยอย่างไรนั้น…?